Author Archive
ฟรีสัมมนา GIS ในงาน TUC2012 ครั้งที่ 17
ฟรี สัมมนาเทคโนโลยี GIS ในงาน
Thai GIS User Conference 2012 ครั้งที่17
ในวัน พฤหับดี 6 กย. 2555 เลื่อนไปเป็น ศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งานสัมมนาวิชาการด้านระบบภูมิศาสตร์และสารสนเทศ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2012
วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม 2555 เวลา 08:00 น. – 16:00 น.
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
ดูเพิ่มเติมได้ที่ http://www.esrith.com/
หมายเหตุ :
* การเข้ารับฟังบรรยายไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
* กรุณาตรวจสอบรายชื่อห้องของแต่ละหัวข้อได้ในวันงาน
* เนื่องจากที่นั่งมีจำนวนจำกัด บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มาถึงงานก่อน
** ArcGIS Workshop ที่นั่งมีจำนวนจำกัด 20 ที่นั่งต่อรอบ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ที่นั่งให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาที่มีบัตรแสดงสิทธิ์การเข้าอบรม ArcGIS Workshop ก่อน โดยท่านสามารถดำเนินการขอรับบัตรแสดงสิทธิ์ (First Come First Serve) การเข้าอบรม ArcGIS Workshop ได้ ณ บริเวณที่จัดไว้ภายหลังจากที่ท่านดำเนินการลงทะเบียนเข้าชมงานเรียบร้อยแล้ว
55อบรม_ม.ราชภัฎนครศรีธรรมราช GIS คอร์สพื้นฐาน
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น จัดอบรม
"การสร้างฐานข้อมูลทรัพยากรจังหวัดนครศรีธรรมราช ในรูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ด้วย ArcGIS 9.3.1 เบื้องต้น"
ในระหว่างวันที่ 16-18 กรกฎาคม 2555
ได้ดำเนินการฝึกอบรมเสร็จสิ้น และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้าน GIS ในครั้งนี้สำเร็จลงด้วยดี
55อบรม_กรมอุทยานฯ คอร์สพื้นฐาน รุ่นที่ 4 /2555
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้รับเกียรติจาก กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมจัดคอร์สอบรม GIS ขั้นพื้นฐาน ให้กับบุคลากรของกรมอุทยานฯ ในหัวข้อ
“การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับงานด้านป่าไม้ ขั้นประยุกต์”
ครั้งที่ 4 วันที่ 11-12-13 กค. 2555 (หลักสูตรขั้นประยุกต์)
เนื้อหา
การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Point /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Line /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Polygon / การทำ Topology / การวิเคราะห์ Buffer Analysis /การวิเคราะห์ Overlay Analysis/ การทำ 3D analysis การทำ Hydrology Model / การ Interpolation และแสดงผลบน ArcScene และทำ Fly simulation
55อบรม_กรมอุทยานฯ คอร์สพื้นฐาน รุ่นที่ 3 /2555
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้รับเกียรติจาก กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมจัดคอร์สอบรม GIS ขั้นพื้นฐาน ให้กับบุคลากรของกรมอุทยานฯ ในหัวข้อ
“การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับงานด้านป่าไม้ ขั้นพื้นฐาน”
หลักสูตรพื้นฐาน GISสำหรับงานด้านป่าไม้ 3 วัน
ครั้งที่ 3 วันที่ 27-28-29 มิย. 2555 (หลักสูตรขั้นพื้นฐาน)
เนื้อหา
พื้นฐาน GIS / พื้นฐานโปรแกรม ArcGIS/ แสดงผลข้อมูล / ข้อมูลเชิงพื้นที่ /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล / ข้อมูลเชิงบรรยาย / การสืบค้นข้อมูล /การสร้างแผนที่ layout
การใช้เครื่องมือโปรแกรม ArcGIS ArcInfo 9.3.1 สำหรับปรับพื้นฐานกลุ่มผู้เข้าอบรม ระยะเวลา 3 วัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการนำเข้า การแปลง Datum Zone การจัดการโฉนดที่ดิน ระวางที่ดิน และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
สัมมนา "แนวทางการทำวิจัยที่สัมฤทธิ์ผล"
สัมมนาพิเศษ "แนวทางการทำวิจัยที่สัมฤทธิ์ผล"
โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช
ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
[weblink ผลงานวิจัยของวิทยากร]
วันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2555
เวลา 10.30 – 11.30 น.
ห้องบรรยาย A406 อาคาร บร.5
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มาร่วมสัมมนา ฟังแนวคิด และประสบการณ์บริหารการวิจัย ที่ทำให้ท่าน ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ ได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น และรับรางวัลสิ่งประดิษฐ์มาหลายรางวัล
โดยเฉพาะหัวหน้าโครงการวิจัยฯ พลาดไม่ได้ เทคนิคการบริหารหน่วยวิจัยฯ อย่างยอดเยี่ยม จากประสบการณ์โดยตรงของท่านอาจารย์ และรางวัลที่ประกันคุณภาพผลงานอย่างยอดเยี่ยม
55อบรม_กรมอุทยานฯ คอร์สประยุกต์ รุ่นที่ 2 /2555
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้รับเกียรติจาก กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมจัดคอร์สอบรม GIS ขั้นพื้นฐาน ให้กับบุคลากรของกรมอุทยานฯ ในหัวข้อ
“การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับงานด้านป่าไม้ ขั้นประยุกต์”
ครั้งที่ 2 วันที่ 13-14-15 มิย. 2555 (หลักสูตรขั้นประยุกต์)
เนื้อหา
การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Point /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Line /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล Polygon / การทำ Topology / การวิเคราะห์ Buffer Analysis /การวิเคราะห์ Overlay Analysis/ การทำ 3D analysis การทำ Hydrology Model / การ Interpolation และแสดงผลบน ArcScene และทำ Fly simulation
การใช้เครื่องมือโปรแกรม ArcGIS ArcInfo 9.3.1 โดยเรียนรู้การนำเข้าแบบประยุกต์ ArcScan / การ digitize และการนำเข้าแบบ Subtype และ Domain และทำ Topology และ Edit ตลอดจน Trick & Tip
55อบรม_บุคลากรจังหวัดเลย GIS ติดตามพื้นที่ดินถล่ม
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ร่วมมือกับ ศูนย์บริการวิชาการฯ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อจ.วิญญู / อจ.นวรัตน์) และท้องถิ่นจังหวัดเลย ให้ร่วมจัดคอร์สอบรม GIS ขั้นพื้นฐาน ให้กับบุคลากรของท้องถิ่นจังหวัดเลย ที่อยู่ในเขตพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม 30 แห่ง ในหัวข้อ
“ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม จังหวัดเลย”
หลักสูตรพื้นฐาน GIS สำหรับงานด้านการติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม 2 วัน (Phase I)
ครั้งที่ 1 วันที่ 28-29 พค 2555 (หลักสูตรขั้นพื้นฐาน)
ณ ห้องประชุม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ผู้เข้าสัมมนา จำนวน 60 คน
ท้องถิ่นจังหวัดเลย ผดุงศักดิ์ หาญปรีชาสวัสดิ์ กล่าวรายงาน ให้กับท่าน ผู้ว่าราชการจังหวัดเลยฯ
และผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สมพงศ์ อรุณโรจน์ปัญญา กล่าวยินดีต้อนรับ และขอบคุณความร่วมมือทางวิชาการฯ ด้าน GIS/RS กับทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และจังหวัดเลย
รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ภานุ แย้มศรี ได้กล่าวกล่าวให้นโยบายกับทางบุคลากรจังหวัด และมอบของที่ระลึกให้กับทางวิทยากร
ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม เชิงปฏิบัติการ ได้เรียนรู้ทฤษฎี และปฏิบัติในการใช้ระบบ GIS/Remote Sensing ติดตามพื้นที่เสี่ยงภัยฯ
และหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม ได้ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก
แหล่งข่าว เกี่ยวกับดินถล่ม จังหวัดเลย
http://www.esanclick.com/newses.php?No=1624
นายสุเทพ มณีโชติ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนที่กำลังมาถึงนี้ จังหวัดเลยได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มพบว่ามีจำนวน 326 หมู่บ้าน จาก 13 อำเภอ ถือว่ามากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเต็มไปด้วยป่าเขา โดยมีพื้นที่เสี่ยงภัยระดับ 3 จากสูงสุด 5 ระดับ อยู่ตามบริเวณริมแม่น้ำเลย ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่อำเมืองเลย และอำเภอวังสะพุง
แหล่งข่าว1 : เลยจัดสัมมนานำไอซีทีประยุกต์งานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000065429
แหล่งข่าว2 : เลยติวเข้มท้องถิ่นรับมือฤดูฝน-พบด่านซ้ายหมู่บ้านเสี่ยงสูง
http://www.mcot.net/cfcustom/cache_page/369925.html
55อบรม_กรมอุทยานฯ คอร์สพื้นฐาน รุ่นที่ 1 /2555
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ได้รับเกียรติจาก กรมอุทยาน สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้ร่วมจัดคอร์สอบรม GIS ขั้นพื้นฐาน ให้กับบุคลากรของกรมอุทยานฯ ในหัวข้อ
“การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สำหรับงานด้านป่าไม้ ขั้นพื้นฐาน”
หลักสูตรพื้นฐาน GISสำหรับงานด้านป่าไม้ 3 วัน
ครั้งที่1 วันที่ 23-24-25 พค 2555 (หลักสูตรขั้นพื้นฐาน)
เนื้อหา
พื้นฐาน GIS / พื้นฐานโปรแกรม ArcGIS/ แสดงผลข้อมูล / ข้อมูลเชิงพื้นที่ /การนำเข้าและปรับแก้ข้อมูล / ข้อมูลเชิงบรรยาย / การสืบค้นข้อมูล /การสร้างแผนที่ layout
การใช้เครื่องมือโปรแกรม ArcGIS ArcInfo 9.3.1 สำหรับปรับพื้นฐานกลุ่มผู้เข้าอบรม ระยะเวลา 3 วัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยเฉพาะการนำเข้า การแปลง Datum Zone การจัดการโฉนดที่ดิน ระวางที่ดิน และการกำหนดขอบเขตพื้นที่ป่าไม้ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
สัมมนาวิชาการ "แล้ง หรือ ท่วม เอาอยู่?" ดร.เสรี
สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย เชิญฟังเสวนาวิชาการ
"แล้ง หรือ ท่วม เอาอยู่?" ฟรี!!!
โดย รองศาสตราจารย์ ดร.เสรี ศุภราทิตย์
ผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานแวดล้อมนานาชาติสิรินธร
และร่วมประชุมสามัญประจำปี 2555 สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย
ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 เวลา 13.00 – 16.00 น.
ณ ห้องประชุม 801 อาคาร 8 ชั้น กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำแห่งประเทศไทย
http://www.ldd.go.th/swcst/index.html
อบรม ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อติดตามทรัพยากรลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ PSU
ภารกิจ สัมมนา ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตามทรัพยากรชายฝั่ง ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ที่หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (TU) ได้ร่วมมือกับ สถานวิจัยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (PSU) ได้แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2555 มีนักวิชาการ นักวิจัย และอาจารย์ จากมหาวิทยาลัย และหน่วยงานต่างๆ มาร่วมกัน ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ก่อนจากกันไปทำภารกิจ
หากมีโอกาส คงได้นำความรู้ที่ได้รับ ไปพัฒนากันต่อไป และขอบคุณที่อยู่ร่วม workshop กันจนวันสุดท้าย ขอให้มีความสุขกับการทำงานด้านระบบภูมิสารสนเทศกันต่อไปครับ
รศ.สุเพชร
สัมมนาวิชาการ “แนวทางการป้องกันน้ำท่วมสำหรับบ้านพักอาศัยในอนาคต การยกบ้านแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือ?” 21 มค 55
สัมมนาวิชาการ โครงการบริการวิชาการแก่สังคม “แนวทางการป้องกันน้ำท่วมสำหรับบ้านพักอาศัยในอนาคต การยกบ้านแก้ปัญหาน้ำท่วมได้จริงหรือ?” เข้าร่วมฟังฟรี ไม่เสียค่าลงทะเบียน
วันเสาร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2555
ณ ห้อง S-103 อาคารบร. 5 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต
08.30 น. – 09.00 น. | ลงทะเบียน |
09.00 น. – 12.00 น. |
แนวทางการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตสำหรับชุมชนและหมู่บ้าน การตรวจบ้านหลังน้ำลด การซ่อมแซม วิธีการยกบ้าน โดย อาจารย์ธเนศ วีระศิริ |
13.00 น. – 16.00 น. |
ให้คำปรึกษา – ซักถามปัญหาเรื่องบ้าน เป็นรายบุคคล โดย วิศวกรอาสา |
ท่านใดสนใจ โปรดสำรองที่นั่ง ล่วงหน้า
ติดต่อ 02-564-4440-59 ต่อ 2300, 08-0812-3733, 08-0812-3743
จัดโดย….. ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต
คู่มือ "กลับบ้าน..หลังน้ำท่วม" (ฉบับการ์ตูน) ตรวจบ้าน ประเมินความเสียหาย และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
คู่มือ "กลับบ้าน..หลังน้ำท่วม" (ฉบับการ์ตูน) ตรวจบ้าน ประเมินความเสียหาย และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
เผยแพร่โดย กลุ่ม อาสาสมัครฟื้นฟูประเทศไทย
มีประโยชน์มากๆ อ่านวิธี ตรวจบ้าน ประเมินความเสียหาย และแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ข้อมูลแน่นปึกโดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมภาพประกอบเข้าใจง่าย น่ารัก น่าอ่าน แนะนำว่าต้องดู (แจกฟรีเป็นหนังสือ หรือ download ไปดู)
แจกฟรี!!! สามารถรับหนังสือได้ที่ ECOSHOP ชั้น 1 Digital Gateway: Siamsquare
และ ASA Center ชั้น 5 Siam Discovery
หรือ Download [PDF] ได้ที่ backhome_flood.pdf