Archive for the ‘ความรู้ทั่วไป’ Category
จราจรอัจฉริยะ รายงานสภาพจราจรบน Google Map
ระบบการรายงานสภาพการจราจรที่พัฒนาโดย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนได้ใช้งานฟรี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้ถนนในกทม. และปริมณฑล ผ่านระบบ Google Map และยังเขื่อมโยงกับ CCTV กล้องวงจรปิด สามารถเข้าใช้งานได้ที่ http://traffy.nectec.or.th
สำหรับ จาวา http://traffy.nectec.or.th/jtraffy
สำหรับ ซิมเบียน http://traffy.nectec.or.th/mtraffy
สำหรับ วินโดว์โมบาย http://traffy.nectec.or.th/ptraffy
สไลด์เรื่องการวิเคราะห์และตัดสินใจด้วย GIS
Thai GIS User Conference ครั้งที่ 13 GIS in Action
เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2551
ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพ
ได้มีโอกาสไปนำเสนอ เรื่อง แนวคิดในการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบ GIS และการนำข้อมูลมาสนับสนุนการติดสินใจ
ด้วยเวลาที่จำกัดมาก เพียง 40 นาที ก็ได้นำเสนอ เพียงแนวคิดและหลักการ ให้สำหรับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ในการสัมมนาในครั้งนี้
สำหรับ slide ในการนำเสนอ ได้แปลงเป็น PDF ไว้ให้ download ด้วยขนาดไม่ใหญ่มากนัก ประมาณ 29 MBytes
[ Part_GIS_Analysis.pdf ]
ขอบคุณสำหรับผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในครั้งนี้ครับ
และขอขอบคุณสมาชิกทุกท่านที่ได้ให้การสนับสนุนตำรา ArcGIS 9.2 ทั้งก่อนหน้างาน และในงานนี้
สำหรับสมาชิกที่ได้ซื้อตำรา ArcGIS 9.2 ไป ให้ไป download ฐานข้อมูลตัวอย่าง หน้า 139 เพื่อใช้ประกอบการฝึก เรียนรู้โปรแกรม ArcGIS ซึ่งใช้ได้ทั้ง 9.1 หรือ 9.2 และ 9.3 ที่กำลังวางตลาดในปัจจุบัน
พยายามเรียนรู้พื้นฐานหลักการเบื้องต้นให้เข้าใจนะครับ เพราะฉบับถัดไปจะเป็นการประยุกต์ใช้ในแต่ละเครื่องมือที่ยากขึ้น โดยไม่ซึ่งจะไม่ได้เน้นพื้นฐานแล้วครับ
ข่าวดีสำหรับงานวิจัยใช้ภาพรีโมทเซนซิง Terra และ Aqua ในระบบ MODIS
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ หรือ สทอภ. ได้จัดโครงการดีๆ สำหรับนักวิจัย นิสิต นักศึกษา และคณาจารย์จากสถาบันศึกษา "โครงการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS รายวัน"
โดยในโครงการนี้ สทอภ. ร่วมกับ AIT ในการรับสัญญาณภาพจากดาวเทียมระบบ MODIS จากดาวเทียม Terra และ Aqua
โดยระบบ MODIS มีจำนวนช่วงคลื่นหลายช่วงคลื่นให้เลือกใช้งานใน resolution รายละเอียดข้อมูล 250 – 1,000 เมตร
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และภูมิสารสนเทศ จึงดำเนินการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมระบบ MODIS เบื้องต้น เพื่อให้หน่วยงานราชการ สถานการศึกษาและนักวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ต่อยอดในภารกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาน้ำท่วม ปัญหาไฟป่า ปัญหาภัยแล้ง และปัญหาฝุ่นควันจากไฟป่า เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมของประเทศ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่สำนักพัฒนาธุรกิจ สทอภ.
แหล่งข้อมูล http://modis.gistda.or.th/
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม http://sos.noaa.gov/datasets/Atmosphere/aqua_swath.html
รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ
รีโมทเซนซิง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตามพายุ เฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยในตัวอย่างนี้
เป็นการติดตาม เฮอริเคน อิสาเบล ที่พัดพาทำให้เกิดดินถล่มที่ North Carolina เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS
นอกจากนี้เราติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆ ด้วยภาพเรดาร์ ดังรูปด้านล่างนี้
ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้วยกระบวนการ Digital Image processing ก็สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจหาค่าสะท้อนที่ต้องการ หรือดึงค่ามา เป็นกระบวนการ Image Enhancement ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการภาพให้เด่นชัดขึ้น
สมมติโจทย์คือ ต้องการดึงค่าเมฆมา โดยใช้ Image processing ในที่นี้ใช้โปรแกรมรีโมทเซนซิง ชื่อ ENVI 4.0
ปราสาทตาเมือนธม ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ดูด้วย Google Earth
ปราสาทตาเมือน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ดูด้วย Google Earth
กลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่บ้านตาเมียง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร
ตามรายทางสู่เมืองพระนครของขอม ในอดีตยังไม่มีความรับรู้ในเรื่องพรหมแดนต่างประเทศ มีแต่เพียงแนวทิศเขาดงเร็ก เป็นพรหมแดนธรรมชาติที่กั้นผู้คนสองดินแดนไว้ คนโบราณมมมีการใช้เส้นทางผ่าช่องเขาที่มีอยู่ตลอดแนว ในบางช่องเขามีการสร้างปราสาทหินขนาดเล็ก เช่น ช่องไชตะกูมีปราสาทแบแบก แต่สำหรับที่ช่องตาเมือนหรือตาเมียงนี้มีลักษณะพิเศษคือ มีปราสาทหินสามหลังอยู่ใกล้ๆกัน เรียงลำดับจากขนาดใหญ่ไปขนาดเล็ก เรียกว่ากลุ่มปราสาทตาเมือน โดยปราสาทแต่ละหลังมีขนาดและประโยชน์ที่ใช้สอยแตกต่างกันไป
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ในพื้นที่ประเทศไทย ดูจาก Google Earth
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม ในพื้นที่ประเทศไทย ดูจาก Google Earth
ปราสาทสด๊อกก๊อกธม
เป็นโบราณสถานประกอบด้วยองค์ประสาท 3 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีคูน้ำล้อมรอบ มีกำแพง 2 ชั้น ชั้นนอกทำด้วยศิลาแลง ชั้นในทำด้วยหินทราย ตัวปราสาทก่อด้วยหินทรายมีโคปุระ หรือซุ้มประตูเหลือเพียงด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกเท่านั้น
ตำบลตำบลโคกสูง กิ่งอำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว
ถ้าเราดูจาก Google Earth บริเวณชายแดนไทย – กัมพูชา สามารถเห็นในภาพ
ลองเข้าไปสำรวจที่ พิกัดภูมิศาสตร์
เขาพระวิหาร มรดกโลก สู่ GoogleEarth
มุมมองการทดลองนำเข้าข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียมสู่ GoogleEarth บริเวณพื้นที่เขาพระวิหาร ที่เป็นประเด็นที่สนใจกันทั่วไป
ในบทความนี้เป็นแนวทางในการนำแนวคิดไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป
เขาพระวิหาร มรดกโลก ที่สามารถนำเข้าสู่โปรแกรม Google Earth ได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งไม่ได้เน้นถึงความแม่นยำสูงมากนัก แต่ก็มีมาตราส่วนที่ดีเทียบเท่าแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรือดีกว่า เพราะมีการตรวจสอบด้วยฐานข้อมูล 1:50,000 และเราสามารถเห็นพื้นที่ซ้อนทับที่เป็นหัวข้อข่าวจาก หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ดังรูปล่างขวา
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
ดูโลกจากอวกาศ สามารถคลิกบนรูปเพื่อการแสดงผล หรือการกำหนดค่า lat/long เพื่อแสดงภาพแผนที่ในแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับนักเรียน ในการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์โลก
http://www.fourmilab.ch/cgi-bin/Earth