Archive for the ‘เรียนรู้-รีโมทเซนซิง’ Category
ข่าว ‘ธีออส’ ส่งขึ้นวงโคจร 1 ต.ค. นี้แล้ว
แหล่งข่าว http://www.gistda.or.th/Gistda/THEOS_launch1.html
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกของไทย หรือธีออส ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อเวลา 13.37 นาที วันนี้ (1 ต.ค.) ตามเวลาในประเทศไทย หรือ 06.37 น. ตามเวลามาตรฐานสากล (UTC) โดยธีออสถูกส่งจากฐานยาสนี (Yasny) ประเทศรัสเซีย ด้วยจรวดนำส่งเนปเปอร์ (Dnepr) ตามกำหนดการเดิม ทั้งนี้ หลังจากที่ธีออสขึ้นสู่วงโคจรประมาณ 1 ชั่วโมง จะส่งสัมผัสแรก หรือ First contact ไปยังสถานีรับสัญญาณดาวเทียม ที่ประเทศสวีเดน โดยคาดว่าประเทศไทยจะรับสัญญาณจากธีออสได้ในเวลา 21.00 น. ของวันนี้
นายชาญชัย เพียรวิจารณ์พงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ก่อนการใช้งานธีออส คาดว่าจะต้องใช้เวลาตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ต่างๆ บนดาวเทียม เช่น กล้องถ่ายภาพ และอุปกรณ์ส่งสัญญาณ คาดว่าประมาณ 3 เดือนจะสามารถให้บริการภาพถ่ายจากดาวเทียมธีออสได้ ซึ่งขณะนี้ประเทศสวีเดนมีความสนใจที่จะเป็นตัวแทนจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมธีออส รวมถึงประเทศอื่นๆ ที่แสดงความจำนงเข้ามาพอสมควร
รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ
รีโมทเซนซิง เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการติดตามพายุ เฮอริเคน ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น โดยในตัวอย่างนี้
เป็นการติดตาม เฮอริเคน อิสาเบล ที่พัดพาทำให้เกิดดินถล่มที่ North Carolina เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2546 ด้วยภาพถ่ายจากดาวเทียม MODIS
นอกจากนี้เราติดตามการเคลื่อนตัวของเมฆ ด้วยภาพเรดาร์ ดังรูปด้านล่างนี้
ถ้าจะนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ด้วยกระบวนการ Digital Image processing ก็สามารถทำได้ด้วยการ ตรวจหาค่าสะท้อนที่ต้องการ หรือดึงค่ามา เป็นกระบวนการ Image Enhancement ซึ่งต้องศึกษากันต่อไป เพราะเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการภาพให้เด่นชัดขึ้น
สมมติโจทย์คือ ต้องการดึงค่าเมฆมา โดยใช้ Image processing ในที่นี้ใช้โปรแกรมรีโมทเซนซิง ชื่อ ENVI 4.0
กระทรวงไอซีทีเตรียมส่งดาวเทียม SMMS ขึ้นสู่วงโคจร
ที่มาหัวข้อข่าว : http://www.space.mict.go.th/
กระทรวงไอซีทีได้ร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ (Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน ซึ่งเป็นโครงการสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi – Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS เป็นผลงานวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทตโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้งานในภูมิภาคและเอเชียแปวิฟิก (Asia–Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA) เป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่ง ในด้านรีโมทเซนซิง
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ข่าวสารถึงคณะรัฐมนครีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในระหว่าง 6 ประเทศข้างต้น
ERDAS4 : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1
การทำงานบนโปรแกรม ERDAS Imagine ซึ่งเป็นโปรแกรมทางด้านรีโมทเซนซิ่งเบื้องต้น อีกโปรแกรมหนึ่งที่น่าสนใจ ในประสิทธิภาพที่ค่อนข้างสูง แต่ในราคาที่ค่อนข้างแพงเอาการ เพราะฉะนั้นในหน่วยงานใดที่จะใช้จำต้องมีทุนหนาสักหน่อย ถึงจะมีสิทธิเป็นเจ้าของได้ โดยตอนแรกนี้จะมีอยู่ 7 หัวข้อ ได้แก่
1. นำเข้าข้อมูลในรูปแบบต่างๆ (Data Import)
2. การแสดงผลภาพถ่ายดาวเทียม (Data Display)
3. การเปลี่ยนช่วงคลื่นสีผสมใหม่ (Color Composite)
4. การตัดขนาดของภาพตามต้องการ (Resample Data)
5. การแสดงพิกัด และค่าสะท้อนของภาพ
6. การสร้างจอภาพช่วยมอง
7.การทำภาพซ้อนเพื่อช่วยในการดูภาพ
ดูเอกสารเพิ่มเติมได้ในรายละเอียด erdas4_p01.pdf
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
รีโมทเซนซิงดูโลกผ่านเว็บไซต์
ดูโลกจากอวกาศ สามารถคลิกบนรูปเพื่อการแสดงผล หรือการกำหนดค่า lat/long เพื่อแสดงภาพแผนที่ในแต่ละพื้นที่ เหมาะสำหรับนักเรียน ในการเรียนรู้ ภูมิศาสตร์โลก
http://www.fourmilab.ch/cgi-bin/Earth
เรียนรู้การใช้งานโปรแกรม PCI/EasyPace
PCI EasyPace เป็นซอฟท์แวร์ทางด้านรีโมทเซนซิ่งอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถสูงเช่นกัน ผู้สนใจสามารถคลิ๊ก เข้าไปดูขั้นตอนการทำงานของ PCI EasyPace ในด้านรีโมทเซนซิ่ง
download เนื้อหาในการเรียนรู้ในตาราง
เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1 การอ่านภาพ รีโมทเซนซิง และการใช้ ImageWork | pcieasypace_p01.pdf |
การแสดงผลข้อมูล Color Composite ในโปรแกรม PCI EasyPace |
pcieasypace_p02.pdf |
การเน้นข้อมูลภาพ / Linear Combination | pcieasypace_p03a.pdf และ
pcieasypace_p03b.pdf |
การเน้นข้อมูลภาพ / Spectral Ratio | pcieasypace_p04.pdf |
การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต / Geometric Correction | pcieasypace_p05.pdf |
การจำแนกภาพ / Scatter plot | pcieasypace_p06.pdf |
การจำแนกภาพ / UNSUPERVISE CLASSIFICATION | pcieasypace_p07.pdf |
การจำแนกภาพ / SUPERVISE CLASSIFICATION | pcieasypace_p08.pdf |
การปรับแต่งผลการจำแนก / Post Classification | pcieasypace_p09.pdf |
มีโปรแกรมด้านรีโมทเซนซิงอีกหลายโปรแกรมที่ผู้ใช้งานด้านรีโมทเซนซิงน่าศึกษา
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 9
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 9
การปรับแต่งผลการจำแนก / Post Classification
วัตถุประสงค์
ผลการจำแนกมักมีจุดภาพใกล้เคียงกัน หรือกลุ่มจุดภาพเล็กๆ กระจัดกระจาย จึงมักทำการปรับแต่ง
ผลการจำแนกให้มีความสมบูรณ์ขึ้น โดยใช้ SIEVE analysis
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากไฟล์ pcieasypace_p09.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 8
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 8
การจำแนกภาพ / SUPERVISE CLASSIFICATION
วัตถุประสงค์
จำแนกภาพแบบ SUPERVISE CLASSIFICATION โดยการจัดกลุ่มจุดภาพลงในประเภทข้อมูลที่ได้กำหนดพื้นที่ตัวอย่างไว้
การเลือกพื้นที่ตัวอย่าง Region of Interests
ดูขั้นตอนปฏิบัติการได้จาก pcieasypace_p08.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 7
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 7
การจำแนกภาพ / UNSUPERVISE CLASSIFICATION
วัตถุประสงค์
จำแนกภาพแบบ UNSUPERVISE CLASSIFICATION โดยการจัดกลุ่มจุดภาพโดยเงื่อนไขทางสถิติ
ตามความคล้ายคลึงกัน เหมาะสำหรับข้อมูลภาพที่ USER ไม่ทราบรายละเอียดหรือสภาพสิ่งปกคลุมดินของพื้นที่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ไฟล์ pcieasypace_p07.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 6
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 6
การจำแนกภาพ / Scatter plot
วัตถุประสงค์
ใช้ศึกษา Correlation ระหว่างข้อมูลโดยแสดงการกระจายกลุ่มว่ามีแนวโน้มที่จะอยู่กลุ่มเดียวกัน
หรือต่างกลุ่ม ทั้งส่วนที่เป็นข้อมูลภาพ และส่วนของตัวอย่างประเภทข้อมูล
ดูขั้นตอนการปฏิบัติการได้จากไฟล์ pcieasypace_p06.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 5
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 5
การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต / Geometric Correction
วัตถุประสงค์
ปรับแก้ความคลาดเคลื่อนข้อมูลให้ถูกทิศทาง
การปรับแก้ข้อมูลเชิงเรขาคณิต หรือการทำ Geometric Correction เป็นการปรับแก้ค่าพิกัดเชิงภูมิสาสตร์
เพื่อให้เข้าสู่ระบบ UTM หรือระบบที่ต้องการ
ซึ่งโดยทั่วไปจะมีการจัดทำ 4 รูปแบบคือ
image to image ใช้ในกรณีที่ทำการอ้างอิง images ที่ยังไม่มีพิกัด ทำร่วมกับข้อมูลที่มีพิกัดแล้ว
image to vector ใช้ในการณีที่ทำการอ้างอิง images กับข้อมูล Vector
image to MAP ใช้ในกรณีที่มีการอ้างอิง images กับข้อมูล bitmap
image to coordinates ใช้ในกรณีที่มีผู้ใช้พิมพ์ค่าพิกัดเข้าไปด้วย keyboard
ดูรายละเอียดปฏิบัติการได้จากไฟล์ pcieasypace_p05.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 4
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 4
การเน้นข้อมูลภาพ / Spectral Ratio
วัตถุประสงค์
เน้นข้อมูลภาพจากการทำอัตราส่วนค่า DN ต่างแบนด์หรือต่างช่วงคลื่น เหมาะสำหรับภาพที่มีข้อมูลภาพที่มีค่าต่ำ
หรือสูงสุดแตกต่างกันมาก
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากไฟล์ pcieasypace_p04.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 3
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 3
การเน้นข้อมูลภาพ / Linear Combination
วัตถุประสงค์
เน้นข้อมูลภาพโดยการนำข้อมูลหลายๆ แบนด์มาทำผลบวกเชิงเส้นของแบนด์
(ต้องกำหนดค่าสัมประสิทธิ์)
เช่น Principal Component Analysis (PCA)
ดูเอกสารเพิ่มเติม 2 ไฟล์ pcieasypace_p03a.pdf และ pcieasypace_p03b.pdf