Archive for the ‘เรียนรู้-รีโมทเซนซิง’ Category
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 2
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 2
ในตอนที่ 2 จะเน้นเรื่องการแสดงผลข้อมูล Color Composite ในโปรแกรม PCI EasyPace
การแสดงผล Color Composite ในแบบต่างๆ
ดูเพิ่มเติมได้ที่ pcieasypace_p02.pdf
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1
PCI EasyPace : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 1
PCI EasyPace เป็นซอฟท์แวร์ทางด้านรีโมทเซนซิ่งอีกโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถสูงเช่นกัน ผู้สนใจสามารถคลิ๊ก เข้าไปดูขั้นตอนการทำงานของ PCI EasyPace ในด้านรีโมทเซนซิ่ง
1. การอ่านภาพ รีโมทเซนซิง และการใช้ ImageWork
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ pcieasypace_p01.pdf
เรียนรู้การใช้งานโปรแกรมรีโมทเซนซิง ENVI 3.X
ENVI เป็นโปรแกรมที่ใช้งานในด้านรีโมทเซนซิ่ง หรือการสำรวจระยะไกล โดยประมวลผลข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม
โดยมีความสามารถในการทำ spectral image analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูลเขิงตัวเลขที่ได้รับจากการสะท้อนของวัตถุต่างๆ บนพื้นโลก
กระบวนการ geometric correction ในการตรึงภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ถูกต้องตามพิกัดภูมิศาสตร์
การวิเคราะห์ terrain analysis
และที่สำคัญซอฟท์แวร์นี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ radar analysis โดยเฉพาะข้อมูล Microwave เช่น ERS-1, ERS-2 และ JERS-1 รวมถึง RadaSAT และ ENVISAT
สามารถประยุกต์เข้ากันทั้งระบบ raster และ vector ซึ่งจากที่ได้ทดลองใช้งานสามารถใช้ได้กับ PC ArcView GIS ได้อย่างไม่มีปัญหา
download เนื้อหาในการเรียนรู้ในตาราง
ENVI3 : ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ENVI Software | envi32_p01.pdf |
การแสดงผลข้อมูลทางจอภาพ (Display Image) และ |
envi32_p02.pdf |
การให้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์แก่ข้อมูล (Image Correction) |
envi32_p03.pdf |
การจำแนกประเภทข้อมูล (Classification Data) Unsupervised Classification และ Supervised Classification | envi32_p04.pdf |
รีโมทเซนซิงสำหรับงานติดตามภัยธรรมชาติ | [ลิงค์ ENVI_Cloud Detect ] |
ERDAS4 : เรียนรู้พื้นฐานโปรแกรม ตอนที่ 2
สำหรับตอนที่ 2 ในการเรียนรู้ การทำงานบนโปรแกรม ERDAS Imagine ซึ่งเป็นโปรแกรมทางด้านรีโมทเซนซิ่งเบื้องต้น ตอนที่ 2 นี้จะมีอยู่ 3 หัวข้อ ได้แก่
8.การแสดงค่า Spectral, Spatial และ Surface Profile…
9.การปรับค่าความคมชัดของภาพ
10.การทำ Image Registration
ดูรายละเีอียดในเอกสารได้ erdas4_p02.pdf
ENVI3 : การจำแนกประเภทข้อมูล (Classification Data)
ENVI3 : การจำแนกประเภทข้อมูล (Classification Data)
การจำแนกประเภทข้อมูลนี้ เป็นการวิเคราะห์เพื่อจำแนกข้อมูลเป็นประเภทกลุ่มข้อมูล ซึ่งในการจำแนกประเภทข้อมูล สามารถดำเนินการได้ใน 2 ลักษณะคือ Unsupervised Classification และ Supervised Classification
ศึกษาจากเอกสารเพิ่มเติม envi32_p04.pdf
ENVI3 : การให้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์แก่ข้อมูล (Image Correction)
ENVI3 : การให้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์แก่ข้อมูล (Image Correction)
ในส่วนนี้เป็นการเรียนรู้ การให้ค่าพิกัดภูมิศาสตร์แก่ข้อมูล (Image Correction)
ในรูปแบบ Image to Map Registration
ดูเพิ่มเติมได้จากเอกสาร envi32_p03.pdf
ENVI3 : 1.การแสดงผลข้อมูลทางจอภาพ (Display Image)
ในส่วนนี้เรียนรู้ การใช้โปรแกรม ENVI 3
1.การแสดงผลข้อมูลทางจอภาพ (Display Image) และ
การเพิ่มความเด่นชัดให้กับข้อมูล (Image Enhancement)
ดูเอกสารเพิ่มเติม envi32_p02.pdf
ENVI3 : ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ENVI Software
ENVI3 : ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ ENVI Software
ENVI เป็นโปรแกรมที่ใช้งานในด้านรีโมทเซนซิ่ง หรือการสำรวจระยะไกล โดยประมวลผลข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม
โดยมีความสามารถในการทำ spectral image analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูลเขิงตัวเลขที่ได้รับจากการสะท้อนของวัตถุต่างๆ บนพื้นโลก
กระบวนการ geometric correction ในการตรึงภาพถ่ายจากดาวเทียมให้ถูกต้องตามพิกัดภูมิศาสตร์
การวิเคราะห์ terrain analysis
และที่สำคัญซอฟท์แวร์นี้เหมาะสำหรับการวิเคราะห์ radar analysis โดยเฉพาะข้อมูล Microwave เช่น ERS-1, ERS-2 และ JERS-1 รวมถึง RadaSAT และ ENVISAT
สามารถประยุกต์เข้ากันทั้งระบบ raster และ vector ซึ่งจากที่ได้ทดลองใช้งานสามารถใช้ได้กับ PC ArcView GIS ได้อย่างไม่มีปัญหา
ดูเพิ่มเตมได้จากเอกสาร envi32_p01.pdf
รายละเอียดและขนาดของช่วงคลื่น
รายละเอียดและขนาดของช่วงคลื่น
Spectral Resolution
วัตถุแต่ละชนิดมีลักษณะในการสะท้อน ดูดกลืน และส่งต่อพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเฉพาะตัวในแต่ละช่วงคลื่น ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่แสดงให้เราเห็นในภาพรวมของลักษณะการสะท้อนของวัตถุที่เรียกว่า ลายเส้นเชิงคลื่น หรือ Spectral Signature การที่วัตถุแต่ละชนิดมี Spectral Signature เฉพาะตัวทำให้เราสามารถแยกหรือจำแนกวัตถุออกจากกันได้ ดังนั้นเราจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงความเหมือนและความต่างของลักษณะการสะท้อนของวัตถุในแต่ละกลุ่ม เพื่อที่จะได้เลือกใช้ช่วงคลื่นที่เหมาะสมกับเทคโนโลยีรีโมทเซนซิงในการสำรวจวัตถุเป้าหมาย ทั้งนี้ช่วงคลื่นที่นำมาใช้ในระบบพาสซีฟต้องคำนึงถึงหน้าต่างบรรยากาศด้วยก็คือ เลือกใช้ในช่วงคลื่นที่สามารถผ่านชั้นบรรยากาศมายังโลกได้
หลักในการเลือกใช้ช่วงคลื่น (spectral) และขนาด (ความกว้าง) ของแต่ละช่วงคลื่น (แต่ละ band) มีวัตถุประสงค์ดังนี้
• มีการบันทึกข้อมูลแยกเป็นหลาย ๆ ช่วงคลื่นในเวลาเดียวกัน
• เพื่อประโยชน์ในการศึกษาสิ่งปกคลุมดินหลาย ๆ ประเภท
• ออกแบบให้ช่วงคลื่นตรงกับคุณสมบัติเฉพาะของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในแต่ละช่วง
• ช่วงคลื่นขนาดยิ่งแคบ (ซอยย่อย) จะยิ่งช่วยให้ศึกษาค่าการสะท้อนของวัตถุเฉพาะเรื่องได้มากกว่า แต่จำนวนข้อมูลจะมากขึ้นด้วย
ข้อมูลเชิงตัวเลข Digital Data
ข้อมูลเชิงตัวเล
Spectral Signature และการสะท้อนช่วงคลื่นของสิ่งปกคลุมผิวโลก
Signature และการสะท้อนช่วงคลื่นของสิ่งปกคลุมผิวโลก
ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัวของวัตถุบนพื้นผิวโลกใด ๆ ทำให้เกิดคุณสมบัติของความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและวัตถุบนพื้นผิวโลก 4 ประการ ได้แก่
1) วัตถุต่างชนิดจะมีปฏิสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแตกต่างกัน – กล่าวคือ ที่ช่วงคลื่นเดียวกัน อาคารสิ่งปลูกสร้างกับพืช จะมีปฏิสัมพันธ์กับช่วงคลื่นนั้นแตกต่างกัน
2) วัตถุชนิดเดียวกันจะมีปฏิสัมพันธ์กับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างชนิดกันแตกต่างกัน – กล่าวคือ พืชจะมีปฏิสัมพันธ์กับช่วงคลื่นของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ต่างกันนั้นไม่เหมือนกัน
3) ลักษณะปฏิสัมพันธ์ของวัตถุชนิดเดียวกันกับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงเวลาและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน ย่อมจะมีลักษณะที่แตกต่างกัน – เช่น ต้นข้าวที่ต่างวัย คือ ต้นอ่อน และที่กำลังออกรวง ย่อมมีลักษณะปฏิสัมพันธ์กับคลื่นที่ไม่เหมือนกัน
4) วัตถุชนิดเดียวกันจะมีปฏิสัมพันธ์กับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า แสดงในรูปเส้นกราฟมีลักษณะเฉพาะตัว เรียกว่า “ลายเส้นเชิงคลื่น” หรือ “Signature” ซึ่งใช้ประโยชน์ในการตีความและจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกจากกัน
ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับสิ่งปกคลุมผิวโลก
ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับสิ่งปกคลุมผิวโลก
เราสามารถจำแนกวัตถุต่าง ๆ ออกจากกันได้เนื่องจากความแตกต่างกันของลักษณะปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งปกคลุมผิวโลกกับพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้าใน 3 ลักษณะ คือ ในการสะท้อน การดูดกลืน และการส่งผ่านพลังงาน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ในสมการ
ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ
ปฏิสัมพันธ์ของพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในชั้นบรรยากาศ
ดวงอาทิตย์ เป็นแหล่งกำเนิดพลังงาน ได้ส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ผ่านบรรยากาศสู่พื้นผิวโลกและสะท้อนผ่านบรรยากาศกลับสู่เครื่องรับสัญญาณ เป็นเหตุให้ลักษณะของบรรยากาศโลกเป็นปัจจัยมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงไปทั้งขนาดและทิศทาง ทั้งนี้อนุภาคที่อยู่ในชั้นบรรยากาศซึ่งประกอบไปด้วย ฝุ่นละออง ไอน้ำ และก๊าซต่าง ๆ จะทำปฏิสัมพันธ์กับพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า 3 กระบวนการ คือ การดูดกลืน การหักเห และการกระจัดกระจาย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้