Archive for the ‘เรียนรู้-ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์’ Category
เว็บไซต์แสดงผลแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งจัดทำโดย DSI
เว็บไซต์แสดงผลแผนที่ตำแหน่งที่ตั้งจัดทำโดย DSI ซึ่งสามารถใช้งานค้นหาตำแหน่งพิกัดในรูปแบบต่างๆ ทำให้ผู้ที่เริ่มใช้งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สามารถใช้งานเบื้องต้นได้อย่างดี และเชื่อมโยงกับแผนที่จาก Bing Map และ Google Map และแผนที่ Shapefile ที่แสดงผลบนโปรแกรม Browser ได้ทีทาง DSI ได้รวบรวมมาเพื่อแสดงผลบนโปรแกรมได้อย่างสะดวก
เข้าสู่เว็บไซต์ของ DSI ได้ตามช่องทางนี้
GmapGIS web based GIS
GmapGIS เป็นฟรีเว็บ GIS แอพลิเคชั่น โปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เว็บที่ใช้ในการวาดภาพบนแผนที่ Google map : polygons lines และ marker และ labels
http://www.gmapgis.com/
คู่มือภาษาไทย ArcGIS 9.3.1 ฉบับปรับปรุง วางตลาดแล้ว
“เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1 ฉบับปรับปรุง“ ครอบคลุมทั้ง 9.0, 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.3.1 และเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และผู้ใช้งานระดับกลาง
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล
ISBN 978-616-305-420-3
ปีพิมพ์ : 1 / 2555
ขนาด (w x h) : 18.415 cm x 26.035 cm หนา : 4.25 cm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 936 หน้า
ราคาปกติ : 450 บาท
ซื้อหนังสือในรูปแบบสมาชิกแต่ละศูนย์หนังสือมีส่วนลดตามเงื่อนไขของแต่ละแห่ง
วางขายที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา http://www.chulabook.com หรือสั่งผ่านเว็บไซต์ของศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดส่งทั่วประเทศ [ arcgis 9.3.1 book ] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) [website] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์) [website] |
สั่งซื้อผ่านทาง email : arcgisbook@gis2me.comราคาเล่มละ 400 บาท รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (มีส่วนลดเพิ่ม หากสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อจัดฝึกอบรม ให้ราคาพิเศษ) |
ซื้อด้วยตนเองที่สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒฒนายั่งยืน อาคารบร. 5 ชั้น 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เล่มละ 360 บาท |
แปลงพิกัดระหว่าง Grid UTM และ lat/long บนเว็บWebsite
นัก GIS ใช้เว็บไซต์นี้ แปลงพิกัดภูมิศาสตร์ ระบบ Geographic Coordinate System และ Universal Transverse Mercator (UTM) (Grid Coordinate System) ตามเว็บไซต์นี้
http://home.hiwaay.net/~taylorc/toolbox/geography/geoutm.html
เมื่อผู้ใช้งาน GPS ไปออกสำรวจภาคสนาม และได้ค่าพิกัดเป็นระบบ Geographic Corrdiante System มา หรือที่เรานิยมเรียกว่า แลตติจูด ลองกิจูด ท่านสามารถแปลงไปในระบบ Grid/Projected Coordinate System ได้
สำหรับท่านที่อยากทดลองใช้ ก็เข้าสู่โปรแกรม Google Earth ก็ได้ แล้วอ่านค่าพิกัดแผนที่มา
ในรูปแบบ decimal degree เช่น 13.75741 100.49001 หรือ N13.75741 E100.49001
หรือใส่รูปแบบ degree decimal minute เช่น N 13 45.445 E 100 29.401
ขอให้ทุกท่านมีความสนุกกับการทำงานในด้าน GIS ครับ
แปลงพิกัด lat/long เป็น Grid UTM บนเว็บ
วันนี้มาแนะนำ โปรแกรมแปลงพิกัดภูมิศาสตร์ ที่สะดวก บนเว็บไซต์แห่งหนึ่ง
GPS Coordinate Converter, Maps and Info
เมื่อผู้ใช้งาน GPS ไปออกสำรวจภาคสนาม และได้ค่าพิกัดเป็นระบบ Geographic Corrdiante System มา หรือที่เรานิยมเรียกว่า แลตติจูด ลองกิจูด ท่านสามารถแปลงไปในระบบ Grid/Projected Coordinate System ได้
สำหรับท่านที่อยากทดลองใช้ ก็เข้าสู่โปรแกรม Google Earth ก็ได้ แล้วอ่านค่าพิกัดแผนที่มา
ในรูปแบบ decimal degree เช่น 13.75741 100.49001 หรือ N13.75741 E100.49001
หรือใส่รูปแบบ degree decimal minute เช่น N 13 45.445 E 100 29.401
เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ ติดตามเทคโนโลยี ArcGIS v. 10.0
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ร่วมกับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ ประเทศไทย จำกัด จัดโครงการสัมมนาวิชาการ ในวันพุธที่ 22 กันยายน 2553 [ รูปกิจกรรมสัมมนา ]
เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ ติดตามเทคโนโลยี ArcGIS v. 10.0 ในหัวข้อเรื่อง
“แนวโน้มการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย ArcGIS v.10”
ชุดเต็มสไลด์ [ 20100922-Esri Technology Update.pdf ]
ชุด 6 หน้า ต่อแผ่น [ 20100922-Esri Technology Update_6p.pdf ]
ละติจูด ลองจิจูด
คัดลอกจาก : อิสริยา เลาหตีรานนท์ ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ อังคารที่ 20 เมษายน 2553
“เส้นรุ้ง” กับ “เส้นแวง” เป็นคำที่หลายๆ ท่านเคยเรียนในสมัยอยู่โรงเรียน ท่องคำว่า “รุ้งตะแคง แวงตั้ง” และความหมายที่ตรงกันคือ เส้นรุ้งคือละติจูด และเส้นแวงคือลองจิจูด
ราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์และให้รายละเอียดของละติจูด ลองจิจูด ไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไว้ดังนี้
ละติจูด (Latitude) เป็นระยะทางเชิงมุมที่วัดไปตามขอบเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ โดยนับ 0 (ศูนย์) องศา จากเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือหรือใต้ จนถึง 90 องศาที่ขั้วโลกทั้งสอง หรือเป็นมุมแนวตั้งที่ศูนย์กลางโลกระหว่างเส้นรัศมีของโลกที่ผ่านจุดซึ่งเส้นเมริเดียนตัดเส้นศูนย์สูตรกับเส้นรัศมีที่ผ่านตำบลที่ตรวจ
ลองจิจูด (Longitude) เป็นระยะทางเชิงมุมระหว่างเมริเดียนกรีนิช กับเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจซึ่งวัดไปตามขอบของเส้นศูนย์สูตร หรือขอบของเส้นขนานละติจูด หรือเป็นมุมแนวระดับที่แกนโลกในระหว่างพื้นของเมริเดียนกรนิชกับพื้นของเมริเดียนซึ่งผ่านตำบลที่ตรวจ ตามปรกติวัดเป็น องศา ลิปดา และฟิลิปดา โดยนับ 0 (ศูนย์) องศาจากเมริเดียนกรนิชจนถึง 180 องศาไปทางตะวันออกหรือตะวันตกของเมริเดียนกรีนิช
การจำลองระดับน้ำท่วม โดยการพัฒนาของ NASA
การจำลองระดับน้ำท่วม โดยการพัฒนาของ NASA ได้จัดทำโปรแกรม simulation ระดับน้ำท่วมถึง ตั้งแต่ 0 ถึง 14 เมตร เราสามารถเลือกจำลองระดับน้ำท่วมถึงได้ และพื้นที่แต่ละทวีป ลองทดสอบระบบดู เผื่อเกิดแนวคิดในการประยุกต์ใช้งานระบบภูมิสารสนเทศในการป้องกันบรรเทาภัยธรรมชาติของประเทศไทย
ArcGIS Diagrammer เครื่องมือจัดการ GeoDatabase
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือ script ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง สำหรับเลือกใช้เพื่อสร้าง Geodatabase schema รวมถึงการแก้ไข และวิเคราะห์
Schema จะแสดงเป็นรูปแบบ Diagram เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขโครงสร้างได้สะดวกมากขึ้น (หน้าตาคล้ายคลึงกับการทำงานบน Microsoft Visual Studio)
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ไขโครงสร้างไฟล์ที่ทำงานรูปแบบของ xml ซึ่งไฟล์ xml ในโปรแกรม ArcGIS สามารถสร้างขึ้นโดยคำสั่ง Export ใน ArcCatalog ที่ผู้ใช้ส่งออกมาเป็นไฟล์ XML ได้สะดวก หรือเมื่อแก้ไขเสร็จผู้ใช้นำเข้ามาใช้งานสร้างเป็น Geodatabase ได้ด้วยคำสั่ง Import ไฟล์ xml ได้เช่นกัน
ดูตัวอย่างที่ต่างประเทศได้ทำไว้ในรูปแบบ Video Clip
แหล่งข้อมูล : ArcGIS Diagrammer – Demonstration Video
สำหรับ script ที่จะโหลดเพื่อติดตั้งใช้งาน
คู่มือภาษาไทย ArcGIS 9.3.1 วางตลาดแล้ว
"เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1"
ครอบคลุมทั้ง 9.0, 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.3.1
และเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
และผู้ใช้งานระดับกลาง
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล
ISBN 978-974-300-882-5
ปีพิมพ์ : 1 / 2552
ขนาด (w x h) : 18.415 cm x 26.035 cm
หนา : 4.25 cm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 936 หน้า
ราคาปกติ : 395 บาท
วางตลาดที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา http://www.chulabook.com |
ใน กทม. สั่งผ่านเว็บไซต์ ได้ส่วนลด (สำหรับต่างจังหวัดอาจสั่งที่ซีเอ็ดบุ๊ค เพื่อซื้อผ่านศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้) |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) [website] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์) [website] |
ม.ธรรมศาสตร์ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS
ระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS ภายใต้โครงการพัฒนาระบบข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30 มิถุนายน 2551 |
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำนวตกรรมใหม่มาช่วยสนับสนุนงานการติดตามพัสดุโดยเฉพาะในหมวดครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ครุภัณฑ์ประจำอาคาร ให้เป็นไปได้สะดวกคือ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) ในการติดตามที่จัดเก็บ หรือที่ติดตั้งครุภัณฑ์เหล่านี้ โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) การวางแผนและการบริหารการใช้พื้นที่ห้องในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หรือห้องจัดเก็บครุภัณฑ์ ซึ่งมีความสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นไปอย่างคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพเต็มที่ |
หน้าเว็บไซต์ http://gis.tu.ac.th/webcenter/ และคู่มือที่ http://gis.tu.ac.th/tu/user_manual.pdf |
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ
ระบบจัดการครุภัณด้วย GIS Version : 1.2
SOFTWARE
– ArcGIS Server 9.2
– MS SQL2005
รายละเอียดภาพถ่ายทางอากาศ
– ศูนย์ท่าพระจันทร์ : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 24/08/2006
– ศูนย์ท่ารังสิต : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 21/08/2006
– ศูนย์ท่าลำปาง : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 02/11/2006
– ศูนย์ท่าพัทยา : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 28/02/2005
สื่อช่วยสอน Quantum GIS
CAI (computer-assisted instruction ) ซึ่งราชบัณฑิตยสถาน บัญญัติศัพท์ว่า “ซีเอไอ” หรือ “การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกว่า “คอมพิวเตอร์ช่วยสอน” ซึ่งมักอ้างอิงถึงซอฟแวร์ทางการศึกษาชนิดหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในกระบวนการเรียนการสอน CAI มีลักษณะเด่นสามประการคือ ประหยัด ได้ผล และฉลาด [http://www.thaicai.com/cai]
![]() |
สื่อสนับสนุนการสอนพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้ด้วยโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) ได้ พัฒนาขึ้นมา สำหรับผู้สนใจ แต่ด้วยเหตุที่ไม่สามารถกระจาย แจกจ่ายอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องจัดทำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์จีไอเอสทูมี แห่งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก เอกสารประกอบการอบรม Quantum GIS ที่อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ได้เรียบเรียงขึ้นมา
สื่อชุดนี้ได้ใช้ประกอบการฝึกอบรมในหลายๆ แห่ง และครูภูมิศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการสอนนักเรียนมัธยมศึกษา สำหรับบนเว็บไซต์อาจจะมีขนาดเล็ก และไม่ชัดเจนด้วยข้อจำกัดทางเครือข่าย WWW จึงต้องขออภัย แต่ท่านสามารถเดินทางเข้ามารับชุดเต็มในงานฝึกอบรมหรือสัมมนาต่างๆ เช่น งาน GIS Day ที่จัดเป็นประจำทุกปี หรืองานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น ขอบคุณที่ติดตามผลงานศูนย์วิจัยครับ |
โปรแกรมช่วยเรียนรู้ Quantum GIS (Youtube)
สื่อสนับสนุนการสอนพื้นฐานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้ด้วยโปรแกรม Quantum GIS (QGIS) ได้ พัฒนาขึ้นมา สำหรับผู้สนใจ แต่ด้วยเหตุที่ไม่สามารถกระจาย แจกจ่ายอย่างทั่วถึง จึงจำเป็นต้องจัดทำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์จีไอเอสทูมี แห่งนี้ เป็นการพัฒนาต่อยอดจาก เอกสารประกอบการอบรม Quantum GIS ที่อาจารย์ณัฐพล จันทร์แก้ว ได้เรียบเรียงขึ้นมา และปัจจุบันได้ตัดต่อขึ้น Youtube ซึ่งสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงได้ทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
สื่อชุดนี้ได้ใช้ประกอบการฝึกอบรมในหลายๆ แห่ง และครูภูมิศาสตร์เพื่อใช้ประกอบการสอนนักเรียนมัธยมศึกษา
สำหรับบนเว็บไซต์อาจจะมีขนาดเล็ก และไม่ชัดเจนด้วยข้อจำกัดทางเครือข่าย WWW จึงต้องขออภัย แต่ท่านสามารถเดินทางเข้ามารับชุดเต็มในงานฝึกอบรมหรือสัมมนาต่างๆ เช่น งาน GIS Day ที่จัดเป็นประจำทุกปี หรืองานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นต้น
ทางหน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นยินดีเป็นอย่างยิ่ง หากท่านได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างมีคุณธรรม และจริยธรรม
และห้ามนำไปใช้ในเชิงการค้าโดยเด็ดขาด ต้องได้รับความยินยอมจากหน่วยวิจัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
ขอบคุณที่ติดตามผลงานศูนย์วิจัยครับ
QGIS รวมทุกตอนใน Youtube
http://www.youtube.com/playlist?list=PL9F2BBD9268DE7FA3
QGIS ตอนที่ 1 ภาพรวมโปรแกรม QGIS
http://youtu.be/ly6kB0w7MZA
QGIS ตอนที่ 2 การแสดงผลข้อมูล GIS (video#1/2)
http://youtu.be/diwNUdkLlU0
QGIS ตอนที่ 2 การแสดงผลข้อมูล GIS (video#2/2)
http://youtu.be/FdRNl-fgxxs
QGIS ตอนที่ 3 การควบคุมการซูมแผนที่ (video#1/2)
http://youtu.be/dvu_gN5cxPc
QGIS ตอนที่ 3 การควบคุมการซูมแผนที่ (video#2/2)
http://youtu.be/Zv4b9isOF54
QGIS ตอนที่ 4 การแสดงผลข้อมูลแรสเตอร์ (video#1/2)
http://youtu.be/SbG4Uv194cg
QGIS ตอนที่ 4 การแสดงผลข้อมูลแรสเตอร์ (video#2/2)
http://youtu.be/Br36BSrxFoo
QGIS ตอนที่ 5 การแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์ (video#1/2)
http://youtu.be/-U-CvUFOvCw
QGIS ตอนที่ 5 การแสดงผลข้อมูลเวกเตอร์ (video#2/2)
http://youtu.be/vUVHN2-tW6U
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#1/3)
http://youtu.be/eAWTzvEo5sA
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#2/3)
http://youtu.be/1U8LIIOKML0
QGIS ตอนที่ 6 การตรึงพิกัดแผนที่ Georeferencing (video#3/3)
http://youtu.be/VIM0Ln0O4e4
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#1/3)
http://youtu.be/pFyOQvHjwS4
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#2/3)
http://youtu.be/kLAKR1zg5Ds
QGIS ตอนที่ 7 เรียนรู้การดิจิไทซ์ Head -up Digitizing (video#3/3)
http://youtu.be/aFg3KbEc2DU
QGIS ตอนที่ 8 เรียนรู้ข้อมูลตาราง Attribute Table
http://youtu.be/_ETFosmLY-M
QGIS ตอนที่ 9 วิธีการกำหนดระบบ Projection Datum Zone ให้ข้อมูล GIS
http://youtu.be/H-Zc47g6CnU
QGIS ตอนที่ 10 การทำแผนที่ Layout
http://youtu.be/-dE3a72Iho8