Archive for the ‘เรียนรู้-จีพีเอส’ Category
เส้นทางการบิน จากข้อมูลเรดาร์
เส้นทางการบิน จากข้อมูลเรดาร์ http://www.flightradar24.com/airport/bkk/arrivals
UTM to Latitude and Longitude Converter
UTM to Latitude and Longitude Converter Online UTM to Latitude Longitude converter http://www.engineeringtoolbox.com/utm-latitude-longitude-d_1370.html
แปลงพิกัดระหว่าง Grid UTM และ lat/long บนเว็บWebsite
นัก GIS ใช้เว็บไซต์นี้ แปลงพิกัดภูมิศาสตร์ ระบบ Geographic Coordinate System และ Universal Transverse Mercator (UTM) (Grid Coordinate System) ตามเว็บไซต์นี้
http://home.hiwaay.net/~taylorc/toolbox/geography/geoutm.html
เมื่อผู้ใช้งาน GPS ไปออกสำรวจภาคสนาม และได้ค่าพิกัดเป็นระบบ Geographic Corrdiante System มา หรือที่เรานิยมเรียกว่า แลตติจูด ลองกิจูด ท่านสามารถแปลงไปในระบบ Grid/Projected Coordinate System ได้
สำหรับท่านที่อยากทดลองใช้ ก็เข้าสู่โปรแกรม Google Earth ก็ได้ แล้วอ่านค่าพิกัดแผนที่มา
ในรูปแบบ decimal degree เช่น 13.75741 100.49001 หรือ N13.75741 E100.49001
หรือใส่รูปแบบ degree decimal minute เช่น N 13 45.445 E 100 29.401
ขอให้ทุกท่านมีความสนุกกับการทำงานในด้าน GIS ครับ
NASA วิจัยระบบทำนายสึนามิต้นแบบด้วย GDGPS
แหล่งข่าว : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000082648
และแหล่งข้อมูลสำคัญ http://www.gdgps.net/
ทีมวิจัยนาซา สาธิตระบบทำนายสึนามิต้นแบบเป็นครั้งแรก ซึ่งเข้าถึงข้อมูลแผ่นไหวครั้งใหญ่ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ และประเมินออกมาเป็นความรุนแรงของสึนามิที่จะเกิดขึ้นได้
หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ 8.8 ริกเตอร์ที่ชิลี เมื่อ 27 ก.พ.ที่ผ่านมาโทนี ซอง (Y.Tony Song) นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน (Jet Propulsion Laboratory) หรือเจ็ทแล็บ (Jet Lab) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้ใช้ข้อมูลตามเวลาจริงจากเครือข่ายโกลบอลดิฟเฟอเรนเทียลจีพีเอส (Global Differential GPS) หรือ จีดีจีพีเอส (GDGPS) ของนาซา เพื่อทำนายขนาดของสึนามิที่ตามมาจากแผ่นดินไหวดังกล่าวได้สำเร็จ
การใช้ GPS ในการติดตามกระบือ
การใช้ GPS ในการติดตามวัตถุ/สิ่งมีชีวิต
วันนี้ ผมได้ทดลองอุปกรณ์ GPS Data Logger (USB) ร่วมกับอาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร (ดร.พิพัฒน์ สมภาร) เพื่อใช้ในการติดตามสิ่งมีชีวิต (ในกรณีนี้ เราติดตามพฤติกรรม "กระบือ" หรือ "ควาย") เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยด้านปศุสัตว์ โดยใช้ จีพีเอส บันทึกข้อมูลเส้นทางโดยระบุตำแหน่งตัวระบุตำแหน่งสิ่งมีชีวิต (ควาย) นั้นๆ โดยรับตำแหน่งจากดาวเทียม GPS แล้วบันทึกไว้ในหน่วยความจำของเครื่องได้ไม่ต่ำกว่า 50,000 จุด
และสามารถ download ข้อมูลใน Data Logger เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ด้วยพอร์ต USB เพื่อทำการศึกษาหรือวิเคราะห์พฤติกรรมสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ได้อย่างสะดวก
เมื่อเปิดใช้งานและติดตั้งเข้ากับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ เครื่องจีพีเอส จะบันทึก วัน เวลา ความเร็ว ความสูง และพิกัดตำแหน่ง ตามช่วงเวลาที่ตั้งไว้ ข้อมูลที่บันทึกมาทั้งหมดสามารถถ่ายโอนไปยังคอมพิวเตอร์ได้โดยง่ายเพื่อตรวจ สอบวิเคราห์ข้อมูลการเดินทาง เมื่อต้องการดูบันทึกย้อนหลัง สามารถเชื่อต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ทางพอร์ต USB แล้วถ่ายโอนข้อมูลด้วย Software ที่ให้มาด้วย สามารถบันทึกจัดเก็บได้หลายรูปแบบ เช่น CSV, TXT, และ KML และอื่นๆ แต่เท่าที่นำมาใช้ในงาน GIS ก็สำคัญเพียงไม่กี่ format
สามารถดูข้อมูลเส้นทางที่บันทึกมา ตรวจสอบผลได้ทันทีหลัง downlaod บน Google Map ว่าอยู่ตำแหน่งใดบนภาพ และยังสามารถส่งไปแสดงผลบน Google Earth ได้ทันที
และยังสามารถใ ช้เป็น GPS mouse สำหรับโน๊ตบุคได้อีกด้วย
และเราสามารถใช้ Software ที่แถมมาในการกำหนด Option หรือทางเลือกในการบันทึกค่าพิกัดได้ถึง 3 รูปแบบ (แบบ A, B, C)
และสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่ สิ่งมีชีวิตนั่ง หรือนอนอยู่กับที่นานๆ
หรือสามารถกำหนดให้ไม่ต้องบันทึกค่าในกรณีที่สิ่งมีชีวิตอยู่ห่างจากจุดเดิมไม่เกินในระยะที่กำหนด ก็ได้เช่นกัน (แต่อันนี้น่าจะเหมาะสำหรับติดตามรถยนต์มากกว่า)
สมาชิกที่สนใจ ก็ลองสอบถามดูได้ เพื่อนำมาใช้ในกระบวนการศึกษาวิจัยต่อไปครับ
GPS software free download
ความรู้เบื้องต้น GPS
http://www.gpssociety.com/_Th/Articles_main.aspx
โปรแกรมสำหรับงานด้าน GPS
Free Download Program or Software – โปรแกรมฟรี มีประโยชน์ ดาวน์โหลดเลย
จากแหล่งข้อมูล http://www.global5thailand.com/freeware/freesoftware.htm
โปรแกรมและคู่มือ GPS
http://global5thailand.com/support/support.htm
ตรวจสอบราคา ได้ที่ http://global5thailand.com/products/products.htm
http://www.smartmobile.co.th/category/gps.asp#nogo
http://www.tig-gis.com/gpsgarmin/
และตารางเปรียบเทียบราคา http://global5thailand.com/products/gpsMap.htm
และเว็บอีกแห่งที่น่าสนใจ http://www.gps4you.net/2009/
สเปคจีพีเอสสำหรับงานสำรวจรังวัด http://stenthai.com/php/841D17F8-2B69-40AF-9B74-7BF938AA0AF1.html
ราคาอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมสำรวจ http://www.surveytechno.com/product.php
บันทึกคู่มือการใช้ PowerMap บน ASUS P535
บันทึกคู่มือการใช้ PowerMap บน ASUS P535
ช่วงต้นเมษายน 2551 ได้นำกลุ่มนักศึกษา ไปออกสำรวจภาคสนาม
ระหว่างนั้น ก็ได้ทำการจัดทำคู่มือการใช้งานจีพีเอส ด้วยโปรแกรม PowerMap G10 สำหรับกลุ่มคนที่ยังไม่ค่อยชำนาญ ที่ได้ติดตั้งบน ASUS P535
จึงได้ทำคู่มือขึ้นมา เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ คนที่ได้ซื้อเครื่องมือหนึ่ง หรือมือสอง ASUS P535 มา
การใช้ PowerMap G10 ตอนที่ 1
การใช้ PowerMap G10 ตอนที่ 2
ด้วยคุณสมบัติ จีพีเอสที่มีในตัว
แต่พบว่า ใช่ไม่ค่อยคล่อง ทั้งๆ ที่มีประสิทธิภาพในการนำทางพอตัว
ผมได้ทดลองใช้มาหลายเดือน เวลาไปประชุมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
อย่างตัวอย่างที่ได้เคยทดลองใช้ คือ จันทบุรี ระยอง ตราด ซึ่งพบว่า ฐานข้อมูลยังไม่ค่อยครบดีนัก
ที่แวะเที่ยวบ่อยๆ ก็ กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบูรณ์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นบ้านญาติ และบ้านเกิดของเราเอง ไปได้สะดวก นำทางได้ดี
และที่ไปสำรวจภาคสนาม เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี กระบี่ ตรัง ภูเก็ต
ตอนนี้ได้นำมาทดลองใช้ตอนไปภาคสนาม ที่ อบต.นาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี
ซึ่งต้องเดินทางผ่าน ปทุมธานี สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น และเข้าสู่อุดรธานี ก็สะดวก
เลยเอาประสบการณ์มาแชร์หลายๆ ท่าน ให้โหลดไปอ่านกันนะครับ หากเป็นประโยชน์ หรือมีประสบการณ์มาแชร์ ก็รบกวนแลกเปลี่ยนได้ครับ
GPS : ศึกษาการนำเข้าข้อมูลรูปแบบ GPS import
GPS : ศึกษาการนำเข้าข้อมูลรูปแบบ GPS import
เป็นการดึงข้อมูล GPS Garmin 12 และ Garmin 12 เข้าสู่คอมพิวเตอร์ผ่านสาย cable ด้วยโปรแกรม
ศึกษาจากเอกสารประกอบ gps_import.pdf
AVENUE : การสร้าง Graphic บน View window
AVENUE : การสร้าง Graphic บน View window
บทความชุดนี้จะอธิบายถึงการทำงานด้วย Graphic ที่เราสามารถสร้างขึ้นบน ArcView ซึ่งเราจะต้องเข้าใจว่ารูปภาพเชิงเรขาคณิต (สี่เหลี่ยม, วงกลม วงรี เป็นต้น) ที่ประกอบด้วยค่าพิกัด x,y ที่จะสร้างขึ้นเป็นรูปทรงเรขาคณิตต่างๆ นั้นเราอาจจะเรียกได้ว่า Shape ซึ่งอาจจะแสดงอยู่ในรูปแบบจุด เส้น สี่เหลี่ยม วงกลม วงรี หรือหลายเหลี่ยม ก็ได้ทั้งหมด แต่ถ้า Graphic นั้นจะแสดงในรูปแบบสัญลักษณ์ที่คล้ายกับ Shape คืออาจจะอยู่ในรูปแบบสัญลักษณ์จุด สัญลักษณ์เส้น สัญลักษณ์สี่เหลี่ยมเป็นต้น โดยที่ทั้ง Shape และ Graphic นั้นสามารถแสดงผลบน View และ Layout ได้ทั้งสองชนิด ในขณะที่ Shape แสดงผลแบบชั่วคราว (เปิด/ปิด ได้) เท่านั้น แต่ Graphic จะแสดงผลแบบถาวรบน View หรือ Layout
ศึกษาได้จากเอกสารประกอบ avenue08.pdf
AVENUE : ควบคุมตารางของ Theme ด้วย GUI ใน ArcView 3.X
AVENUE : ควบคุมตารางของ Theme ด้วย GUI ใน ArcView 3.X
ในบทความชุดนี้ทางผู้เรียบเรียงและเขียน ได้อธิบายวิธีการเปิดตารางฐานข้อมูลของ Theme และการเรียกดู Table ของ Theme ที่เราสนใจดูข้อมูลนั้น ซึ่งในบทความนี้อยากให้คุณได้เรียนรู้โครงสร้างของชุดคำสั่งในการเรียกใช้งานตารางของ theme ซึ่งเป็น Attribute Data ในส่วนนี้ จะทำให้เราเข้าใจฐานข้อมูลของ GIS มากขึ้น
เรียนรู้ได้จากเอกสารประกอบเพิ่มเติม avenue07.pdf
AVENUE : การแสดงผล Theme ด้วย GUI ใน ArcView 3.X
AVENUE : การแสดงผล Theme ด้วย GUI ใน ArcView 3.X
ในบทความชุดนี้ทางผู้เรียบเรียงและเขียน ได้อธิบายวิธีการแสดงผล Theme ที่เราสนใจดูข้อมูลนั้น ซึ่งในบทความนี้อยากให้คุณได้เรียนรู้โครงสร้างของชุดคำสั่งในการเรียกใช้งาน theme และจะได้เข้าใจถึงโครงสร้างของโปรแกรมแบบ For Each … มากขึ้น ในการเรียกใช้งานซ้ำๆ สำหรับบางกรณี
ให้ทุกท่านเปิด Project ที่ทำไว้ในบทความครั้งที่ 4 ที่ผ่านมาแล้วให้ลองทดสอบ script ใหม่ เพื่อให้เราเข้าใจในบทเรียนมากขึ้น
ซึ่งถ้าเราพยายามทำความเข้าใจโครงสร้างของชุดคำสั่งต่างๆ ที่เราต้องการเรียกใช้งานให้ Theme ที่มีอยู่แสดงผล เราอาจจะใช้คำสั่ง SetVisible ดังตัวอย่างข้างล่างเป็นการค้นหา Theme ที่ต้องการและให้มีการแสดงผลบน view
ศึกษาเพิ่มเติมได้จากเอกสารแนบนี้ avenue06.pdf
AVENUE : การปรับแต่ง Graphic User Interface ใน ArcView 3.X
AVENUE : การปรับแต่ง Graphic User Interface ใน ArcView 3.X
ในบทความชุดนี้เราจะลองเรียนรู้เกี่ยวกับหน้าต่าง (Interface) ที่เราต้องใช้งานซึ่งจะกล่าวถึงการทำงานเฉพาะผู้ใช้งานบน Operating System ชนิด Window เท่านั้น จะทดลองทำตามดูว่าเราจะเข้าใจและสามารถสร้างเครื่องมือเฉพาะการทำงานของหน่วยงานเราได้หรือไม่
ศึกษาได้จากเอกสารนี้ avenue05.pdf
AVENUE : Script ควบคุม View Windows
AVENUE : Script ควบคุม View Windows
บทความชุดนี้จะเรียนรู้ในเรื่องของการใช้คำสั่งวัตถุ เรียกว่า Request ในการกำหนดให้วัตถุแสดงผลต่างๆนั้นโดยส่ง Request ไปให้วัตถุ ซึ่งค่าที่ได้หรือผลลัพธ์ที่ได้นั้นเราอาจจะมีตัวแปรไปรับค่านั้นหรือไม่ก็ได้ เรียนรู้การใช้ Script ควบคุมการเปิด ปิด View Window
ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสารแนบนี้ avenue04.pdf