Archive for the ‘ปฏิบัติการ-ArcGIS’ Category
Thai GIS User Conference ครั้งที่ 18 ฟรี
ประกาศๆ!! สัมมนาดีๆ สำหรับชาว ArcGIS ค่าาา…
วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคมนี้.. ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน "Thai GIS User Conference ครั้งที่ 18" ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เขตหลักสี่
…มาอัพเดททุกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ GIS และพบกับการเปิดตัวซอฟต์แวร์ ArcGIS 10.2 เวอร์ชั่นล่าสุดครั้งแรก ที่นี่!!
ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ที่http://www.esrith.com/th/tuc/index.html
อบรมArcGIS 10.1 สำหรับศิษย์เก่าฟรี
เรียนเชิญศิษย์เก่าภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ทุกรุ่นที่สนใจ ทบทวนและปรับความรู้ และเรียน ArcGIS10.1
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2556
เวลา 9.00 – 16.00 น.
"ทบทวน ความรู้ Geo-Informatics และเรียนรู้ ArcGIS 10.1 สำหรับศิษย์เก่าเทคโนโลยีชนบท"
ติดต่อ พี่แอ๊ป พี่สายพิณ 025644482
สำรองที่นั่ง ล่วงหน้า เพื่อกำหนดจำนวนภายในวันศุกร์นี้
ArcToolBox เขียนสูตรคำนวณไร่ งาน ตารางวา
สูตรคำนวณ ไร่ งาน ตารางวา
Rai คือ Int([AREA] / 1600).
Ngan คือ Int (([AREA] – ([Rai] * 1600)) / 400).
Sqwa คือ Int (([AREA] – (( [Rai] * 1600) + ([Ngan] * 400))) / 4).
อบรม ArcGIS ฟรีที่ ม.สงขลานครินทร์ 16-19 กค. 56
ขอเชิญเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศขั้นพื้นฐาน
(การใช้งานโปรแกรม Arc GIS)
ณ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคใต้
คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่ 16 – 19 กรกฎาคม 2556
จำนวนรับสมัคร : 20 คน
รายละเอียดการฝึกอบรม :
• การจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
• การนำเข้าข้อมูล จัดการข้อมูล และการแปลภาพจากภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง
• การใช้เครื่อง GPS ในการสำรวจภาคสนาม
• การจัดทำฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
• การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านการวางแผนจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
• การจัดทำแผนที่
หมดเขตรับสมัคร : 28 มิถุนายน 2556
อบรมฟรี พร้อมอาหารว่างและอาหารกลางวัน พร้อมรับเกียรติบัตร
ผู้เข้าอบรมควรมีพื้นฐานการใช้งานทางคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สนใจติดต่อ 074-286873 (ธัสรา) หรือ dhasara.b@psu.ac.th
** ขอสงวนสิทธิ์สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยผ่านการอบรมโปรแกรม ARC GIS เท่านั้นนะคะ
ET Spatial Techniques สำหรับหา ArcGIS and ArcView extensons
ET Spatial Techniques สำหรับหา ArcGIS and ArcView extensons http://www.ian-ko.com/
คู่มือภาษาไทย ArcGIS 9.3.1 ฉบับปรับปรุง วางตลาดแล้ว
“เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1 ฉบับปรับปรุง“ ครอบคลุมทั้ง 9.0, 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.3.1 และเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และผู้ใช้งานระดับกลาง
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล
ISBN 978-616-305-420-3
ปีพิมพ์ : 1 / 2555
ขนาด (w x h) : 18.415 cm x 26.035 cm หนา : 4.25 cm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 936 หน้า
ราคาปกติ : 450 บาท
ซื้อหนังสือในรูปแบบสมาชิกแต่ละศูนย์หนังสือมีส่วนลดตามเงื่อนไขของแต่ละแห่ง
วางขายที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา http://www.chulabook.com หรือสั่งผ่านเว็บไซต์ของศูนย์หนังสือจุฬาฯ จัดส่งทั่วประเทศ [ arcgis 9.3.1 book ] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) [website] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์) [website] |
สั่งซื้อผ่านทาง email : arcgisbook@gis2me.comราคาเล่มละ 400 บาท รวมค่าจัดส่งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน (มีส่วนลดเพิ่ม หากสั่งซื้อจำนวนมากเพื่อจัดฝึกอบรม ให้ราคาพิเศษ) |
ซื้อด้วยตนเองที่สาขาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒฒนายั่งยืน อาคารบร. 5 ชั้น 3 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เล่มละ 360 บาท |
เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ ติดตามเทคโนโลยี ArcGIS v. 10.0
หน่วยวิจัยระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ร่วมกับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ ประเทศไทย จำกัด จัดโครงการสัมมนาวิชาการ ในวันพุธที่ 22 กันยายน 2553 [ รูปกิจกรรมสัมมนา ]
เอกสารประกอบสัมมนาวิชาการ ติดตามเทคโนโลยี ArcGIS v. 10.0 ในหัวข้อเรื่อง
“แนวโน้มการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้วย ArcGIS v.10”
ชุดเต็มสไลด์ [ 20100922-Esri Technology Update.pdf ]
ชุด 6 หน้า ต่อแผ่น [ 20100922-Esri Technology Update_6p.pdf ]
ArcGIS Diagrammer เครื่องมือจัดการ GeoDatabase
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือ script ที่น่าสนใจตัวหนึ่ง สำหรับเลือกใช้เพื่อสร้าง Geodatabase schema รวมถึงการแก้ไข และวิเคราะห์
Schema จะแสดงเป็นรูปแบบ Diagram เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแก้ไขโครงสร้างได้สะดวกมากขึ้น (หน้าตาคล้ายคลึงกับการทำงานบน Microsoft Visual Studio)
ArcGIS Diagrammer เป็นเครื่องมือสนับสนุนการแก้ไขโครงสร้างไฟล์ที่ทำงานรูปแบบของ xml ซึ่งไฟล์ xml ในโปรแกรม ArcGIS สามารถสร้างขึ้นโดยคำสั่ง Export ใน ArcCatalog ที่ผู้ใช้ส่งออกมาเป็นไฟล์ XML ได้สะดวก หรือเมื่อแก้ไขเสร็จผู้ใช้นำเข้ามาใช้งานสร้างเป็น Geodatabase ได้ด้วยคำสั่ง Import ไฟล์ xml ได้เช่นกัน
ดูตัวอย่างที่ต่างประเทศได้ทำไว้ในรูปแบบ Video Clip
แหล่งข้อมูล : ArcGIS Diagrammer – Demonstration Video
สำหรับ script ที่จะโหลดเพื่อติดตั้งใช้งาน
คู่มือภาษาไทย ArcGIS 9.3.1 วางตลาดแล้ว
"เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1"
ครอบคลุมทั้ง 9.0, 9.1, 9.2, 9.3 และ 9.3.1
และเนื้อหาที่เพิ่มขึ้นมาก เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
และผู้ใช้งานระดับกลาง
ผู้แต่ง : รองศาสตราจารย์ สุเพชร จิรขจรกุล
ISBN 978-974-300-882-5
ปีพิมพ์ : 1 / 2552
ขนาด (w x h) : 18.415 cm x 26.035 cm
หนา : 4.25 cm.
ปก/จำนวนหน้า : ปกอ่อน / 936 หน้า
ราคาปกติ : 395 บาท
วางตลาดที่ ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขา http://www.chulabook.com |
ใน กทม. สั่งผ่านเว็บไซต์ ได้ส่วนลด (สำหรับต่างจังหวัดอาจสั่งที่ซีเอ็ดบุ๊ค เพื่อซื้อผ่านศูนย์หนังสือจุฬาฯ ได้) |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) [website] |
ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต และท่าพระจันทร์) [website] |
ม.ธรรมศาสตร์ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS
ระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS ภายใต้โครงการพัฒนาระบบข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30 มิถุนายน 2551 |
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำนวตกรรมใหม่มาช่วยสนับสนุนงานการติดตามพัสดุโดยเฉพาะในหมวดครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ครุภัณฑ์ประจำอาคาร ให้เป็นไปได้สะดวกคือ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) ในการติดตามที่จัดเก็บ หรือที่ติดตั้งครุภัณฑ์เหล่านี้ โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) การวางแผนและการบริหารการใช้พื้นที่ห้องในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หรือห้องจัดเก็บครุภัณฑ์ ซึ่งมีความสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นไปอย่างคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพเต็มที่ |
หน้าเว็บไซต์ http://gis.tu.ac.th/webcenter/ และคู่มือที่ http://gis.tu.ac.th/tu/user_manual.pdf |
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ
ระบบจัดการครุภัณด้วย GIS Version : 1.2
SOFTWARE
– ArcGIS Server 9.2
– MS SQL2005
รายละเอียดภาพถ่ายทางอากาศ
– ศูนย์ท่าพระจันทร์ : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 24/08/2006
– ศูนย์ท่ารังสิต : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 21/08/2006
– ศูนย์ท่าลำปาง : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 02/11/2006
– ศูนย์ท่าพัทยา : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 28/02/2005
ม.ธรรมศาสตร์ได้พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS
ระบบบริหารจัดการข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS ภายใต้โครงการพัฒนาระบบข้อมูลครุภัณฑ์ด้วยระบบ GIS มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 30 มิถุนายน 2551 |
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อนำนวตกรรมใหม่มาช่วยสนับสนุนงานการติดตามพัสดุโดยเฉพาะในหมวดครุภัณฑ์ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง เช่น ครุภัณฑ์ประจำอาคาร ให้เป็นไปได้สะดวกคือ การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems : GIS) ในการติดตามที่จัดเก็บ หรือที่ติดตั้งครุภัณฑ์เหล่านี้ โดยบูรณาการระบบฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Database) การวางแผนและการบริหารการใช้พื้นที่ห้องในอาคารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ หรือห้องจัดเก็บครุภัณฑ์ ซึ่งมีความสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาทางกายภาพของมหาวิทยาลัยในอนาคต เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่เป็นวิธีการหนึ่ง ที่จะช่วยให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นไปอย่างคุ้มค่า และได้ประสิทธิภาพเต็มที่ |
หน้าเว็บไซต์ http://gis.tu.ac.th/webcenter/ และคู่มือที่ http://gis.tu.ac.th/tu/user_manual.pdf |
รายละเอียดเกี่ยวกับระบบ
ระบบจัดการครุภัณด้วย GIS Version : 1.2
SOFTWARE
– ArcGIS Server 9.2
– MS SQL2005
รายละเอียดภาพถ่ายทางอากาศ
– ศูนย์ท่าพระจันทร์ : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 24/08/2006
– ศูนย์ท่ารังสิต : ภาพ Ortho ถ่ายวันที่ 21/08/2006
– ศูนย์ท่าลำปาง : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 02/11/2006
– ศูนย์ท่าพัทยา : ภาพ Quickbird ถ่ายวันที่ 28/02/2005
เรียนรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcGIS 9.2
เรียนรู้พื้นฐานการใช้โปรแกรม ArcGIS 9.2 ครอบคลุมเวอร์ชั่น 9.1 ด้วย CAI
สมาชิกจีไอเอสทูมี สามารถคลิกดู สื่อการสอน CAI (ไม่มีเสียง แต่มีเมนูบอกรายละเอียดการทำงาน อย่างชัดเจน)
ท่านสามารถใช้ศึกษาด้วยตนเองได้
เป็นการปูพื้นฐาน การใช้งานโปรแกรม ArcGIS ในระดับ ArcView ครอบคลุมทั้ง 9.1 และ 9.2
ศึกษาพื้นฐานการใช้งาน และลองหาความรู้เพิ่มเติมในการนำไปประยุกต์ใช้ในงานขององค์กรท่าน เพราะการศึกษาจาก CAI เป็นเพียงแค่เครื่องมือ แต่ในแนวคิดในการทำงานต้องศึกษากันต่อไป เพราะ GIS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย
![]() |
![]() ![]() ![]() |
เรียนรู้การใช้โปรแกรม ArcCatalog ในส่วนนี้จะพูดถึงการใช้งานโมดูล ArcCatalog เพื่อควบคุม ฐานข้อมูล GIS อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนการใช้โปรแกรม Windows Explorer นั่นเอง แต่ต่างกันตรงที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูล GIS ได้ดีกว่า Window Explorer
เรียนรู้การใช้ ArcMap : Vector Data ในส่วนนี้จะใช้งานโปรแกรม ArcMap เพื่อแสดงผลแผนที่ GIS ฐานข้อมูล GIS ประเภทเวกเตอร์ และการตกแต่งสัญลักษณ์ เพื่อให้สวยงามได้อย่างไร ก็ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ในบทนี้
เรียนรู้การกำหนด Georeferencing Map
ในส่วนนี้จะใช้งานโปรแกรม ArcMap เพื่อแสดงผลแผนที่แรสเตอร์ หรือภาพที่ scan เข้ามา แล้วทำการตรึงพิกัดภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบการแสดงผลแผนที่ หรือเป็นแผนที่ฐานที่จะนำเข้าข้อมูลเพิ่มเติมได้ในภายหลัง
เรียนรู้การ Digitizing Mapใช้ส่วนโปรแกรม ArcMap ในการนำเข้าข้อมูลแบบพื้นฐาน เช่น จุดที่ตั้งชุมชน เส้นถนน และพื้นที่การใช้ที่ดิน เป็นต้น อย่างง่ายๆ เบื้องต้น ในส่วนนี้ยังไม่ถึงการทำ Advanced Editing เพราะต้องการให้ผู้ใช้ศึกษาเบื้องต้นก่อน จะได้เข้าใจการนำเข้าข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งจัดเป็นการนำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data)
เรียนรู้การทำ Attribute Table ใช้ส่วนของโปรแกรม ArcMap นำเข้าข้อมูลเชิงตาราง หรือข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) เพื่อนำเข้าข้อมูลตาราง ในที่นี้เป็นการคำนวณค่าพิกัดจุดที่ตั้งชุมชนที่ได้นำเข้าไป ความยาวเส้นถนนที่ได้นำเข้า และขนาดของพื้นที่ เป็นตารางเมตร เป็นต้น
เรียนรู้การทำ HyperLink Map ใช้ส่วนของโปรแกรม ArcMap เชื่อมโยงไปยังภาพ หรือ Video ที่ต้องการแสดงผล เพื่อประกอบการนำเสนอผลงาน เหมาะสำหรับการนำเสนอ ให้กับผู้บริหาร
เรียนรู้การแปลง Datum / Zone เป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่ง ในการปรับแก้ไขฐานข้อมูลให้อยู่ในระบบพิกัดเดียวกัน ที่เรียกว่า Datum แปลตามราชบัณฑิตได้ว่า "มูลฐาน" หรือ "ระดับอ้างอิง" อันไหนแปลได้เข้าใจก็เลือกใช้ให้เหมาะสมก็แล้วกันครับ ไม่ต้องแปลไทยเป็นไทยอีก เดียวผู้ใช้จะ "งง" และการแปลงโซน ซึ่งประเทศไทยมีบางส่วนตกอยู่ในพื้นที่ โซน 47 และบางส่วนตกในโซน 48 ไว้อธิบายให้อ่านอย่างละเอียดอีกครั้งครับ