โครงการฝึกอบรมหลักสูตร “เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น”
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมมือด้านวิชาการในการถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ ให้กับบุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานราชการ นักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจ ที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ รวมทั้งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในการจัดทำแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดโครงการอบรม "เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น" ขึ้น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา 3 วัน ซึ่ง เพื่อสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมทางด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการแสดงผลข้อมูล สืบค้น และวิเคราะห์ทรัพยากรชายฝั่ง
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศศาสตร์ ให้กับบุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานราชการ นักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจ
2. เพื่อเป็นการนำความรู้เผยแพร่สู่สังคม โดยมีการนำความรู้ไปใช้ในการประยุกต์ใช้งานติดตามทรัพยากรชายฝั่ง อันจะก่อให้เกิดความรู้จากการฝึกปฏิบัติให้แก่บุคลากรของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และหน่วยงานราชการ นักวิชาการ ประชาชนผู้สนใจ
ระยะเวลาในการอบรม
ระยะเวลาในการฝึกอบรม 3 วัน ระหว่าง วันที่ 12 – 14 มกราคม 2552 (โดยเบิกจ่ายจากต้นสังกัด)
ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมการสัมมนาในครั้งนี้เป็นอย่างสูง และทีมงานหวังว่าคงได้นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยต่อไป
รายละเอียดการฝึกอบรม
วันจันทร์ที่ 12 มกราคม 2552
08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 – 09.15 น. พิธีเปิด โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อุรุยา วีสกุล
ผู้อำนวยการโครงการศึกษาจัดทำแผนหลักและออกแบบเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง ตั้งแต่ แหลมตะลุมพุก ถึงปากน้ำทะเลสาบสงขลา
09.15 -12.00 น. การอบรม “เรียนรู้พื้นฐานการสร้างแผนที่ทรัพยากรชายฝั่งด้วยโปรแกรม ArcGIS : ArcView เบื้องต้น” วิทยากร : รศ.สุเพชร จิรขจรกุล
¨ ความรู้เทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ
หลักการเบื้องต้นการสำรวจข้อมูลจากระยะไกลและสิ่งแวดล้อมด้วยดาวเทียม
¨ การใช้โปรแกรมการแสดงผลข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม รีโมทเซนซิง และการวิเคราะห์แปลตีความเชิงเลขร่วมการการแปลตีความด้วยสายตา ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดปานกลาง/รายละเอียดสูง
13.00 – 16.15 น. ¨ ความรู้เบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ในการแสดงผลข้อมูล
¨ ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงเชิงพื้นที่ Spatial Data และ
การแสดงผลข้อมูล GIS (Spatial Data) และการตบแต่งสัญลักษณ์
– การแสดงผลข้อมูลแผนที่รูปแบบ Vector
– การแสดงผลข้อมูลแผนที่ รีโมทเซนซิง ร่วมกับ GIS ในโปรแกรม
– การประยุกต์เชื่อมโยงไปยังฐานข้อมูลประเภทรูปภาพสถานที่สำคัญ (HyperLinks)
วันอังคารที่ 13 มกราคม 2552
09.00 – 12.00 น. ¨ หลักการเบื้องต้นระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก จีพีเอส (GPS)
การใช้เครื่องมือจีพีเอส (GPS)
การนำเข้าข้อมูลพิกัดจีพีเอส เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
¨ การจัดทำแผนที่ภูมิศาสตร์โลก และภูมิศาสตร์ประเทศไทย (Layout) เพื่อผลิตแผนที่กระดาษ
13.00 – 16.00 น. ¨ หลักการเบื้องต้นการนำเข้าข้อมูล GIS (point / line / polygon)
– การคำนวณตำแหน่ง x,y ที่นำเข้าข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทจุด (Point feature)
– การคำนวณระยะความยาวข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทเส้น (Line feature)
– การคำนวณพื้นที่ข้อมูลเชิงพื้นที่ประเภทโพลีกอน (Polygon fearture)
วันพุธที่ 14 มกราคม 2552
09.00 – 12.00 น. ¨ ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงบรรยาย Attribute Data และ
การสร้างความสัมพันธ์ตาราง
– การเรียกใช้งานข้อมูลเชิงบรรยาย Attribute Data
– การแก้ไข และการสร้างตารางเบื้องต้น
13.00 – 16.00 น. ¨หลักการการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Geoprocessing wizard)
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เวกเตอร์เบื้องต้น (คำสั่ง Buffer / Clip / Union / Intersect etc. )