“โครงการบริการสังคมระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” เดือน ต.ค. 2552 – มี.ค. 2553
ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบงานการติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในหน่วยงานของตนในรูปแบบแผนที่ทรัพยากร ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลายๆ ระบบที่นิยมใช้งาน และผู้ใช้จำเป็นต้องได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความสามารถของโปรแกรมที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสามารถใช้งานในการแสดงผลฐานข้อมูลระบบภูมิสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
หลักสูตรอบรม |
วัน เดือน ปี |
ค่าลงทะเบียน |
ยืนยันภายใน |
รีโมทเซนซิง และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อจัดทำแผนที่ทรัพยากร ขั้นพื้นฐาน |
26-30 ต.ค.52 |
7,000 |
16 ต.ค.52 |
11 – 15 ม.ค.53 |
7,000 |
4 ม.ค.53 |
|
1 – 5 มี.ค.53 |
7,000 |
22 ก.พ..53 |
ดาวน์โหลดข้อมูลและแบบฟอร์ม 1. ใบสมัคร [ word_file ] [ pdf_file ] 2. [ จดหมายเรียนเชิญคอร์ส2 ] |
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยได้มีการพัฒนาระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาประเทศไปสู่ยุคอุตสาหกรรม และระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ ประกอบด้วยเทคโนโลยี 3 ด้าน ได้แก่ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) และระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดโลก (GPS) ซึ่งได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรต่างๆ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมนุษย์สร้างขึ้นในท้องถิ่นต่างๆ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ดังนั้นการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญอันหนึ่งที่ช่วยสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา จากฐานข้อมูลเพื่อการจัดการและบริหารทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ที่แต่ละศูนย์งานในท้องถิ่นต่างๆ ต้องเกี่ยวข้อง ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้รับผิดชอบงานที่ใช้ในการติดตามและประเมินทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในศูนย์งานของตน และมีการประยุกต์ใช้ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการงานต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การช่วยตัดสินใจเพื่อเลือกพื้นที่ที่เหมาะสม การหาเส้นทางที่เหมาะสมในการวางแผนระบบการขนส่ง และการวางแผนในการจัดเก็บภาษีองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ทั้งเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล
ดังนั้น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท ซึ่งได้ดำเนินการเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) รีโมทเซนซิง (Remote Sensing) และระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดโลก (GPS) และมีการวิจัย ทั้งนักศึกษาและคณาจารย์ ซึ่งสามารถที่ช่วยบริการวิชาการสู่สังคม และมีหลายๆ หน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องใช้ และปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการควบคุมฐานข้อมูลเหล่านั้นมากขึ้น ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท จึงได้จัดโครงการอบรม "โครงการบริการสังคมระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” เดือน ต.ค. 2552 – มี.ค. 2553 ขึ้น ซึ่งเป็นการเรียนภาคทฤษฎีควบคู่ไปกับการปฏิบัติการ และสามารถใช้งานโปรแกรมทางด้านระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์เพื่อการจัดการฐานข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการใช้ระบบภูมิสารสนเทศเพื่อการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางด้านการใช้โปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านการปฏิบัติงานระบบภูมิสารสนเทศของผู้เข้าร่วมการอบรมจากหลายๆ หน่วยงาน
4. เพื่อเป็นการนำความรู้เผยแพร่สู่สังคม โดยมีการนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติ อันจะก่อให้เกิดความรู้จากการฝึกปฏิบัติให้แก่เจ้าหน้าที่ไปในเวลาเดียวกัน
5. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมร่วมกันในอนาคต