ประเภทของรีโมทเซนซิง
ประเภทของรีโมทเซนซิง
ระบบรีโมทเซนซิง ได้แบ่งประเภทของการสำรวจระยะไกลออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ตามแหล่งกำเนิดพลังงาน คือ
1. ระบบพาสซีฟ (Passive remote sensing) เป็นระบบที่นิยมใช้ ในกระบวนการรีโมทเซนซิง โดยมีแหล่งพลังงานที่เกิดตามธรรมชาติ คือดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่เรียกว่า Electro-Magnetic – EM ซึ่งทำหน้าที่เสมือนสื่อการส่งผ่านระหว่างวัตถุเป้าหมายและอุปกรณ์บันทึกข้อมูล ระบบนี้จะรับและบันทึกข้อมูลส่วนใหญ่ในเวลากลางวัน เพราะจำเป็นต้องอาศัยพลังงาน EM จากดวงอาทิตย์ เพื่อให้วัตถุภาคพื้นดินสะท้อนกลับสู่บรรยากาศ แล้วใช้ Sensor ในการตรวจวัดพลังงานการสะท้อนนั้น ดังนั้นในระบบพาสซีฟ จึงไม่เหมาะกับการรับข้อมูลในช่วงฤดูฝนเนื่องจากมีข้อจำกัดด้านสภาวะอากาศ จากเมฆ หมอก และฝน เพราะไม่ทะลุเมฆ
2. ระบบแอคทีฟ (Active remote sensing) เป็นระบบที่แหล่งพลังงานเกิดจากการสร้างขึ้นแล้วจึงส่งผ่านพลังงานไปยังวัตถุเป้าหมาย จึงสามารถใช้ได้ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน เช่น ระบบเรดาร์ (radar) ซึ่งใช้เครื่องมือในการสร้างพลังงานช่วงคลื่นไมโครเวฟ และระบบไลดาร์ (lidar) ซึ่งสร้างพลังงานในช่วงคลื่นวิทยุ หรือลำแสงเลเซอร์ หลักการทำงานของระบบนี้จะเป็นการส่งผ่านพลังงานไปยังพื้นที่เป้าหมายแล้วสะท้อนกลับ (backscattered) มายังเครื่องรับสัญญาณ ระบบนี้จึงไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสภาวะอากาศ เนื่องจากช่วงคลื่นดังกล่าวจะเป็นช่วงคลื่นยาวที่สามารถทะลุทะลวงผ่านเมฆ หมอก และฝนได้ อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้จากทั้งสองระบบสามารถนำมาใช้ในการแปลตีความร่วมกันได้ จึงเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแปลและลดปัญหาในการรับข้อมูลในพื้นที่ซึ่งมีข้อจำกัดด้านเวลาและสภาวะอากาศ