ที่มาหัวข้อข่าว : http://www.space.mict.go.th/
กระทรวงไอซีทีได้ร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ (Memorandum of Understanding for Small Multi-Mission Satellite Project and Related Activities :SMMS) เป็นดาวเทียมร่วมสร้างระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน มีประเทศสมาชิกลงนาม 6 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน มองโกเลีย ปากีสถาน บังคลาเทศและอิหร่าน ซึ่งเป็นโครงการสร้างดาวเทียมเอนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi – Mission Satellite :SMMS)หรือ SMMS เป็นผลงานวิจัยของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งเกิดจากความร่วมมือพหุภาคีด้านเทตโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้งานในภูมิภาคและเอเชียแปวิฟิก (Asia–Pacific Multilateral Cooperation in Space Technology and Application :AP-MCSTA) เป็นโครงการที่ดีอีกโครงการหนึ่ง ในด้านรีโมทเซนซิง
นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ให้ข่าวสารถึงคณะรัฐมนครีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้ประเทศไทย เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในระหว่าง 6 ประเทศข้างต้น
ถ้ามาดูรายละเอียดของ ดาวเทียม SMMS มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา วิจัย ออกแบบ เทคโนโลยีอวกาศและพัฒนาบุคลากรไทยให้มีศักยภาพในการวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์กับงานด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้ โดยประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบการจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสาร ระบบ Ka-Band บรรจุในตัวดาวเทียม SMMS
คุณลักษณะของดาวเทียม SMMS
• ดาวเทียมวงโคจรต่ำ (LOW Earth Orbit) ส่งขึ้นสู่วงโคจรในแนวเหนือใต้ หรือ Sun-Synchonous polar orbit
• เป็นดาวเทียมเพื่อการวิจัยด้านการสื่อสารในย่าน Ka-Band
• ความถี่ขาขึ้น 29.2 GHz และตวามถี่ขาลง 18.72 GHz
• ติดตั้งกล้องถ่ายภาพสีแบบ CCD Multi-Spectrum จำนวน 2 ชุด สามารถถ่ายภาพได้กว้าง 700 กิโลเมตร
• ติดตั้งกล้องถ่ายภาพแบบ Hyper-Spectrum ที่สามารถถ่ายภาพได้ถึง 128 แถบความถี่
• น้ำหนักประมาณ 510 กิโลกรัม
• มีอายุการใช้งาน 3 ปี
ประโยชน์ที่จะได้รับจากเทคโนโลยีรีโมทเซนซิง ที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะได้ร่วมมือกันพัฒนาและประยุกต์ใช้ดาวเทียมดังกล่าว เพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น
1. การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง / การเฝ้าระวังภัยพิบัติ สามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้สังเกตการณ์และจัดการพื้นที่บริเวณชายฝั่ง ความหนาแน่นการจราจรชายฝั่ง การเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์วิทยา และการเฝ้าระวังภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ภัยน้ำท่วม ดินถล่ม ซึ่งสามารถเฝ้าดูปริมาณน้ำสะสมในแต่ละลุ่มน้ำ รวมทั้งใช้ประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบก่อนและหลังการเกิดภัยพิบัติ
2. การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำภาพถ่ายดาวเทียมมาใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพของดิน การประเมินความรุนแรงของการกัดเซาะผิวดิน การจำแนกประเภทของป่าไม้ และการวิเคราะห์ความหนาแน่นของป่าไม้ เป็นต้น
3. การเกษตรกรรม เพื่อใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการพื้นที่และผลิตผลทางการเกษตร สามารถประเมินผลผลิตที่คาดว่าจะได้และสนับสนุนการตัดสินใจในด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่อย่างเหมาะสม
4. การชลประทาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ประเมินแหล่งน้ำต่างๆ ได้แก่ แม่น้ำ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำในฤดูน้ำหลาก /บรรเทาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง สามารถรองรับปริมาณความต้องการใช้น้ำในแต่ละช่วงเวลา นอกจากนี้ ยังใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนด้านการชลประทานและการแจกจ่ายน้ำ การเปลี่ยนแปลงเส้นทางน้ำ รวมทั้งคุณภาพของน้ำ
5. การประมง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการสำรวจพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะกับการทำประมง และ/หรือ แหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
6. การสำรวจและการจัดทำแผนที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ วางผังเมือง จัดทำ แผนที่ และติดตามการขยายตัวของเมือง/แหล่งชุมชน ให้มีความเหมาะสม
ทางกระทรวงไอซีที สร้างสถานีภาคพื้นดินประจำที่และสถานีภาคพื้นดินเคลื่อนที่ พร้อมอุปกรณ์รับ-ส่งสัญญาณและระบบควบคุมติดตามดาวเทียม ส่วนสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสร้างอุปกรณ์ด้าน Remote Sensing การทดลองวิทยาศาสตร์ และจรวดส่งดาวทียม รวมทั้งสถานีติดตามและควบคุมดาวเทียม