Posts Tagged ‘GIS’

แนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในงานสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัยในเขตเมือง

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในงานสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัยในเขตเมืองเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดย GIS ช่วยให้เราสามารถวางแผน จัดการ และตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ. ด้วยการรวมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์กับเทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกลและภาพถ่ายทางอากาศ การประยุกต์ใช้ GIS สามารถทำได้ทั้งหมดในระหว่างรอบการจัดการภัย ตั้งแต่การลดความเสี่ยงจนถึงกระบวนการฟื้นฟู

แนวทางในการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวางผังเมืองสามารถช่วยแก้ไขปัญหา “จุดอ่อน” ชุนชนเมือง อาคารหนาแน่น – ซอยเล็ก เข้าระงับเหตุไฟไหม้ไม่สะดวก ได้หลายวิธี:

1. การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงการระงับเหตุอัคคีภัย : GIS ช่วยระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงที่ยากต่อการเข้าถึงการระงับเหตุอัคคีภัย เช่น พื้นที่ที่มีอาคารหนาแน่นและซอยเล็ก ทำให้สามารถวางแผนการจัดการและระงับเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. การจัดการทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัย : GIS ช่วยในการจัดการและวางแผนการใช้ทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัย เช่น การวางท่อประปาและการสร้างถนน ทำให้การเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ สะดวกขึ้น

3. การวางแผนการพัฒนาพื้นที่เมือง : GIS ช่วยในการวางแผนการพัฒนาเมือง เช่น การกำหนดพื้นที่สำหรับการสร้างอาคารใหม่หรือการปรับปรุงพื้นที่ที่มีอยู่

4. การจัดการฐานข้อมูลอาคารและสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบข้อมูลเชิงเชิงพื้นที่: GIS ช่วยในการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลอาคารและสิ่งปลูกสร้างในรูปแบบข้อมูลเชิงเชิงพื้นที่  ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในงานสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัยในเขตเมือง

การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในงานสนับสนุนการระงับเหตุอัคคีภัยในเขตเมือง

cr: Image from Copilot

ผลงานวิจัยบูรณาการ Internet of Things ร่วมกับ GIS สำหรับ Real-Time Data Visualization ติดตามแผ่นดินไหว

การนำระบบ Internet of Things เพื่อมาประยุกต์ในการติดตามแผ่นดินไหว และแสดงผลในรูปแบบระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และแสดงผล Real-Time Data Visualization
ที่พัฒนาขึ้นโดยทีมวิจัยฯ ที่ระดมสมองและร่วมกันพัฒนาเพื่อให้ได้ระบบติดตามเบื้องต้นราคาประหยัด

ตัวแทนทีมจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่งผลงานนวัตกรรมด้านการติดตามแผ่นดินไหวโดยใช้ low cost IoT

ร่วมแข่งขันในงาน ITEX 2024 Malaysia: 16-17 May 2024 @ KL Convention Centre | Asia’s Leading Invention, Innovation & Technology Exhibition

ได้รับ รางวัลเหรียญทอง Gold ประกาศให้แก่ผลงาน IDV435 “Low-Cost Vibration Measurement System and Smart Power Control System” ️

‍ นำโดย

AMORNTEP JIRASAKJAMROONSRI,

NAKHORN POOVARODOM,

SUPET JIRAKAJOHNKOOL,

PANATDA TOCHAIYAPHUM

อาจเป็นรูปภาพของ 2 คน และ ข้อความพูดว่า "90 ANNIVERSARY NNIVERSARY HRH RG SCITU 55NS ฝ่ายวิจัยและบัณทิตศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ดร. ดร.อมรเทพ จิรศักดิ์จำรูญศรี หัวหน้าคณะทีมวิจัย นักวิจัย/นักประดิษฐ์ ศ. ดร.นคร กู่วโรดม รศ. ดร.สุเพชร จิรขจรกุล ปนัดดา โตชัยภูมิ รางวัลเหรียญทอง 0.OD ผลงาน อุปกณ์ต อุปกรณ์ตรวจวัดการสั่นสะเือนโครงสร้ อุป ติ่นหุนำพื้มรมบดบคุณไฟ่าอ งาน "The 35th International Invention, Innovation & Technology Exhibition" (ITEX 2024) ระหว่างวันที่ 16 18 พฤษภาคม 2567 rι กรุงกัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐมาเลเซีย"

ผลการศึกษา Low-Cost Vibration Measurement System and Smart Power Control System

temp

Dashboard สำหรับติดตามข้อมูล COVID-19 ในไทย

การประยุกต์ระบบสารสนเทศ + ข้อมูลเชิงพื้นที่ = ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ สามารถนำมาแสดงผลได้ในเวปไซต์ ในรูปแบบ สรุปสำหรับผู้บริหารได้

โดยได้ประมวลผลจากข้อมูล กรมควบคุมโรค

http://www.gis2me.com/testmap/covid19/

aaatext01a2

aaatext01a2a

การติดตามข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลก ด้วยการแสดงผล GIS Map

การติดตามข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทั่วโลก ด้วยการแสดงผล GIS Map

ข้อมูล COVID-19 WORLD https://github.com/CSSEGISandData/COVID-19/tree/master/csse_covid_19_data

link web แผนที่ World https://tapiquen-sig.jimdofree.com/english-version/free-downloads/world/

การจัดทำแผนที่ GIS สำหรับแสดงผลข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19

การจัดทำแผนที่ GIS สำหรับแสดงผลข้อมูลผู้ติดเชื้อ COVID-19

แหล่งข้อมูล COVID-19 ของกรมควบคุมโรค https://covid19.th-stat.com/th/api เลือกหัวข้อ ข้อมูลแต่ละเคส :

ข้อมูล shapefile จังหวัด https://drive.google.com/file/d/11nj2tiW_6BRry_gsNxkIHltU4kx5Cf_Q/view?usp=sharing

การใช้งาน Google Form บันทึก GPS และรูปภาพ สำหรับงานสนามสาธารณสุข 4.0

การใช้งาน Google Form บันทึก GPS และรูปภาพ สำหรับงานสนามสาธารณสุข 4.0 อบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับนักศึกษา ปริญญาโท สาธารณสุขศาสตร์ งาน GIS กับงานระบาดวิทยา ด้วยเทคโนโลยีฟรีจากอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถประยุกต์ใช้ได้สำหรับงานสำรวจ โดยใช้ Google Form เพื่อจัดทำแบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ เพื่อบันทึกได้ในสนาม และได้ผลลัพธ์ทันที

การบันทึกค่าพิกัดตำแหน่งสถานที่ หรือบุคคล ณ ที่สำรวจ เพื่อได้พิกัด latitude, longitude พร้อมกับบันทึกรูปภาพ หรือวีดีโอคลิป สถานการณ์ เหตุการณ์ เพื่อนำมาทำเป็นแผนที่ได้ในภายหลัง เพียงแค่เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์โปรแกรม Google My Map เพื่อการจัดทำแผนที่สำรวจได้อย่างทันท่วงที

ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้

เรียนรู้คำสั่ง ArcMap การลบขอบโพลีกอนด้วยคำสั่ง Dissolve

เรียนรู้คำสั่ง ArcMap การลบขอบโพลีกอนด้วยคำสั่ง Dissolve มักนิยมใช้กับข้อมูล Polygon ที่มีขอบเขตติดกัน และตรวจสอบข้อมูล Attribute ในตารางพบว่าเป็นข้อมูลเดียวกัน แล้วผู้ใช้งานต้องการให้ขอบเขตรวมเป็น Polygon ชิ้นเดียวกัน

ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้

เรียนรู้คำสั่ง ArcMap เพื่อการต่อแผนที่ด้วย Merge หรือ Append

เรียนรู้คำสั่ง ArcMap เพื่อการต่อแผนที่ด้วย Merge หรือ Append ต่างกันอย่างไร??? เพื่อการเลือกใช้ได้อย่างถูกต้องในการต่อแผนที่ขอบเขตที่ต่อเนื่องกัน

ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้

เปรียบเทียบฟังก์ชั่นในการตัดขอบเขตพื้นที่ด้วยคำสั่ง Clip, Intersect และ Identity

เปรียบเทียบฟังก์ชั่นในการตัดขอบเขตพื้นที่ด้วยคำสั่ง Clip, Intersect และ Identity ในโปรแกรม ArcMap เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจเลือกใช้ได้ตรงกับเป้าหมายผลลัพธ์ที่ต้องการ ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้

เทคนิคการตัดข้อมูลพื้นที่ศึกษา ด้วยคำสั่ง CLIP ใน ArcMap

เทคนิคการตัดข้อมูลพื้นที่ศึกษา ด้วยคำสั่ง CLIP ใน ArcMap เรียนรู้การใช้โปรแกรม ArcMap เพื่อใช้คำสั่ง CLIP เพื่อตัดขอบเขตข้อมูลแผนที่ ตามขนาด polygon ที่กำหนดเพื่อนำแนวคิดไปประยุกต์ในงานวิเคราะห์เชิงพื้นที่ต่อไป

การวิเคราะห์ข้อมูล GIS ด้วยคำสั่ง Buffer ใน ArcMap

การวิเคราะห์ข้อมูล GIS ด้วยคำสั่ง Buffer ใน ArcMap เรียนรู้การใช้โปรแกรม ArcMap เพื่อใช้คำสั่งการทำ Buffer แบบระยะวงที่กำหนด และ Multiple Ring เพื่อทำแบบหลายระยะที่กำหนด ที่สามารถนำไปประยุกต์ในงานวิเคราะห์เชิงพื้นที่ต่อไป

แนวคิดและหลักการการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS การวิเคราะห์ข้อมูล GIS เพื่องานระบาดวิทยา

แนวคิดและหลักการการวิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ GIS การวิเคราะห์ข้อมูล GIS เพื่องานระบาดวิทยา

ปฏิบัติการ สำหรับบุคลาการสายสาธารณสุขที่ต้องลงชุมชน ต้องการศึกษาแนวคิดในการนำ GIS เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ในด้านระบาดวิทยา จากการบรรยายในกลุ่มนักศึกษาปริญญาโทของคณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  

ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้

การทำ Google Form สำรวจพิกัด GPS ภาคสนามและบันทึกรูปภาพ

การทำ Google Form สำรวจพิกัด GPS ภาคสนามและบันทึกรูปภาพ

ปฏิบัติการ สำหรับวิศวกรอาสา ที่จะลงสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ในวีดีคลิปชุดนี้ สำหรับการทำ Google Form สำรวจพิกัด GPS ภาคสนามและบันทึกรูปภาพ

1. การเตรียม Google Form สำหรับบันทึกข้อมูลสนาม และรูปภาพถ่ายจากสนาม

2. Handy GPS free สำหรับบันทึกพิกัด latitude, Longitude

3. การนำ Google Sheet ที่เป็นผลจากการบันทึกแสดงผลใน Google Map ผู้สนใจสามารถเข้าชม เพื่อให้ได้แนวคิดนำไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาต่อไปจากวีดีโอชุดนี้


ติดตามความรู้ทางยูทูปของอาจารย์สุเพชรได้ที่
♫♪♥♥ SUBSCRIBE ♥♥♫♪
“เรียน GIS ออน์ไลน์ สไตล์อาจารย์สุเพชร”

http://www.youtube.com/subscription_center?add_user=supetgis2me

♫♪♥♥[̲̅̅T][̲̅̅H][̲̅̅A][̲̅̅N][̲̅̅K] [Y][̲̅̅O][̲̅̅U]♥♥♫♪
.(◕‿◕✿)

ข่าวสารย้อนหลัง
Who's Online
63 visitors online now
4 guests, 59 bots, 0 members
Powered by Visitor Maps