เชิญครูภูมิศาสตร์ เข้าอบรม “การผลิตสื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”
เชิญครูภูมิศาสตร์ เข้าอบรม “การผลิตสื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”
ขอเรียนเชิญ ครู อาจารย์ ที่สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ในรายวิชาด้านภูมิศาสตร์ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เทคโนโลยีสำรวจข้อมูลระยะไกล (RS) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (GPS) หรือวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมฝึกอบรม
งบประมาณ ได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจาก ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ระยะเวลาในการอบรม
จำนวน 1 รุ่น ละ 3 วัน
รุ่นที่ 1/53 วันที่ 12 – 14 ตุลาคม 2553 [สงวนสิทธิ์รับ จำนวนจำกัด ]
ค่าลงทะเบียน ไม่มีค่าลงทะเบียน (ได้รับงบประมาณสนับสนุนบางส่วนจาก ภาควิชาเทคโนโลยีชนบท คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ใบสมัครเข้าร่วมการอบรม
[ download ใบสมัคร ]
เรื่องที่อบรม
เนื้อหาหลักประกอบด้วย เทคโนโลยี 3 ด้าน ซึ่งมีเนื้อหาโดยสังเขป
1. ความรู้พื้นฐานเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
2. หลักการเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) องค์ประกอบ และแนวทางการประยุกต์ใช้ และปฏิบัติการระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การแสดงผล การสืบค้น (Query) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เบื้องต้น
3. การปฏิบัติการระบบคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย (แผนที่เฉพาะเรื่อง Thematic Map) เพื่อนำไปใช้สอนนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา
รูปแบบ/วิธีดำเนินการ
ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
1. การบรรยายภาคทฤษฎี
2. การฝึกปฏิบัติโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา
3. ใช้โปรแกรมรหัสเปิดด้านระบบภูมิสารสนเทศ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจหลักการทำงาน กระบวนการประมวลผลข้อมูล และเครื่องมือต่างๆ ของเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และโปรแกรมรหัสเปิด
2) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียม ร่วมกับฐานข้อมูลแผนที่โลก และแผนที่ประเทศไทย ในระดับพื้นฐานได้
3) ครู อาจารย์ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ และสื่อการสอน ที่ได้รับไปใช้ในการถ่ายทอดให้กับนักเรียน และใช้ประกอบการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4) เป็นการสร้างเครือข่ายบุคลากรด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ด้านการเรียนการสอน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ รวมถึงโอกาสในการศึกษาวิจัยร่วมกันในอนาคต
สื่อการสอนที่ผู้เข้าฝึกอบรมได้รับ
ผู้เข้าฝึกอบรมจะได้รับ
1. เอกสารประกอบการอบรม
2. สื่อผสมประกอบการอบรมในรูปแบบ DVD-ROM ประกอบไปด้วย
a. สไลด์ประกอบการฝึกอบรม ในรูปแบบ Acrobat PDF
b. CAI สื่อการเรียนรู้ในการใช้โปรแกรมรหัสเปิดในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
c. ฐานข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โลก และประเทศไทย
d. โปรแกรมรหัสเปิดสำหรับติดตั้ง พร้อมคู่มือการใช้งานภาษาไทย
3. แผ่นใสสี เพื่อนำไปใช้ประกอบการสอนในรายวิชา คนละ 20 แผ่น (ครูสามารถนำมาเองได้ หากต้องการพิมพ์มากกว่านี้ มีเครื่องพิมพ์ A4 สี สนับสนุนการพิมพ์)
กำหนดการอบรม
“การใช้สื่อการสอนเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”
วันที่ 1 |
||
08.00 – 09.00 น. |
+ ลงทะเบียน |
|
09.00 -12.00 น. |
+ ทฤษฎี ความรู้เทคโนโลยีระบบภูมิสารสนเทศ และการประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ |
|
+ ทฤษฎี ความรู้เบื้องต้นระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการนำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ไปประยุกต์ในการแสดงผลข้อมูล |
||
+ ปฏิบัติการ พื้นฐานการติดตั้งโปรแกรมและฐานข้อมูล |
||
13.00 – 16.00 น. |
+ ทฤษฎี ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงเชิงพื้นที่ Spatial Data และการนำเข้า |
|
+ ปฏิบัติการ การแสดงผลข้อมูล GIS (Spatial Data) * – การแสดงผลข้อมูลแผนที่รูปแบบ Vector (Coverage/ AutoCAD /Shapefile etc.)
|
วันที่ 2 |
||
09.00 – 12.00 น. |
+ ทฤษฎี ข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : ข้อมูลเชิงบรรยาย Attribute Data และการสืบค้นข้อมูล |
|
+ ปฏิบัติการ การตบแต่งสัญลักษณ์ ข้อมูลแรสเตอร์
|
||
13.00 – 16.00 น. |
+ ทฤษฏี การกำหนดพิกัดภูมิศาสตร์ให้กับภาพถ่ายจากดาวเทียม (Geometric Correction) |
|
+ ปฏิบัติการ การตรึงพิกัดภูมิศาสตร์ภาพถ่ายจากดาวเทียมเพื่อทำเป็นแผนที่ฐานสำหรับงานติดตามทรัพยากรในท้องถิ่น |
วันที่ 3 |
|
|
09.00 – 12.00 น. |
+ ทฤษฎี การนำเข้าข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
|
|
+ ปฏิบัติการ การนำเข้าข้อมูลเวกเตอร์ : Spatial Data – ข้อมูลแบบจุด เส้น และพื้นที่ |
|
13.00 – 16.00 น. |
+ ปฏิบัติการ การนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนที่พร้อมพิมพ์ และการส่งออกภาพแผนที่ + ปฏิบัติการ การจัดทำแผนที่ภาพสีผสม และจัดส่งออกเพื่อพิมพ์ และผลิตสื่อประกอบการสอน |
|
16.00 – 16.30 น. |
มอบวุฒิบัตรและปิดการอบรม |
หมายเหตุ เวลา 10.30 – 10.45 น. และ 14.30 – 14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน (ตามอัธยาศัย)